‘นมพืช’ ทำไมจึงเป็นตัวเลือกมาแรงแทนที่น้ำนมจากสัตว์

นมถั่วเหลืองวางขายเชิงพาณิชย์ครั้งแรกในปี 1910 เป็นผลงานของนักชีววิทยาชาวจีน Li Yu-Ying นับแต่นั้นมา น้ำนมพืชก็ได้กลายเป็นตัวเลือกที่สำคัญของผู้ที่มีภาวะย่อยน้ำตาลแลกโตสบกพร่อง และคนที่ปฏิเสธน้ำนมจากสัตว์ จนตลาดนมพืชอาจมีมูลค่าสูงถึง 47,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.6 ล้านล้านบาท

The Optimized พาไปชมตลาดนมพืช โปรตีนทางเลือกเปลี่ยนโลก

ปัจจัยที่ทำให้นมพืชมาแรงมี 2 ประการ ได้แก่

1.ภาวะย่อยน้ำตาลแล็กโทสบกพร่อง

ตัวเลข 1.6 ล้านล้านบาทของตลาดนมพืชไม่ใช่น้อยๆ บ่งชี้ได้ว่า คนที่มีภาวะย่อยน้ำตาลแลกโพสบกพร่อง (Lactose intolerance) มีอยู่ไม่น้อยเลยทั่วโลก

ภาวะย่อยน้ำตาลแล็กโทสบกพร่อง (Lactose intolerance) เกิดจากความผิดปกติของลำไส้เล็กที่ไม่สามารถผลิตเอนไซม์แลกโทสที่ใช้ย่อยน้ำตาลแลกโทสโดยเฉพาะได้เพียงพอ ซึ่งน้ำตาลแล็กโทสเป็นน้ำตาลที่พบในนมวัวรวมถึงนมแม่ ไม่ได้เกิดจากการแพ้เหมือนแพ้นมวัว เพราะการแพ้นมวัว คือ การแพ้โปรตีนในน้ำนมวัว

เมื่อย่อยน้ำตาลแลกโทสไม่ได้ ร่ายกายจึงไม่สามารถดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่ร่างกาย น้ำตาลจึงไหลตามทางเดินอาหาร และจะดูดน้ำเข้ามาในโพรงลำไส้กระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ ทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ถ่ายเหลว ถ่ายออกมาเป็นน้ำ  และเมื่อมีน้ำตาลผ่านไปยังลำไส้ใหญ่ แบคทีเรียในลำไส้ใหญ่จะสร้างแก๊สเพิ่มขึ้น ทำให้มีอาการปวดท้อง แน่นท้อง ท้องอืด มีลมเยอะ ผายลมบ่อย

อย่างในจีนที่มีจำนวนประชากร 1,400 ล้านคน มีถึง 85% ที่มีภาวะย่อยน้ำตาลแลกโพสบกพร่อง ส่วนประชากรในกาน่า มาลาวี เยเมนและเกาหลีใต้ มีภาวะย่อยน้ำตาลแล็กโทสบกพร่อง 100% ขณะที่ภาวะนี้พบมากชาวยุโรปเช่นกัน เช่น อิตาลี 72% และยูเครน 61%

อัตราค่าเฉลี่ยการบริโภคนมทั่วโลกอยู่ที่ 113 ลิตรต่อคน แต่คนไทยดื่มนมน้อยกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกถึง 6 เท่า เพราะมีคนไทยที่เป็นผู้ใหญ่เพียง 10% เท่านั้นที่ไม่มีภาวะย่อยน้ำตาลแลกโพสบกพร่อง เมื่อดื่มแล้วท้องอืดอัดอัด จึงไม่ดื่มนม

Photo: Freepik

1.คนใส่ใจสุขภาพมากขึ้น

ก่อนปี 2020 คนที่ออกไปวิ่ง เล่นฟิตเนส เข้ายิม ยังถูกมองว่าเป็นพวกแคร์รูปลักษณ์ แต่พอเกิดโควิดเท่านั้นแหละ เหมือนโดนค้อนเคาะหัวให้ตระหนักว่า สุขภาพเป็นเรื่องจำเป็นอันดับหนึ่ง และด้วยความที่ล็อกดาวน์อยู่บ้านไม่มีอะไรทำ คนจึงหันมาเปลี่ยนบ้านเป็นยิมออกกำลังกาย เมื่อโดนเปลี่ยนจากภายในไปถึงมายด์เซต พฤติกรรมของคนจึงเปลี่ยนไปด้วย นอกจากออกกำลังกายแล้วยังหันไปเลือกอาหารการกิน ช่วงโควิดจึงเป็นยุคทองของอาหารออร์แกนิก วีแกน ซูเปอร์ฟู้ด อาหารเสริมภูมิคุ้มกัน เครื่องดื่มใส่วิตามิน รวมไปถึงอาหาร plant-based ต่างๆ เพราะการดูแลสุขภาพไม่ใช่เทรนด์ แต่กลายเป็นความตระหนักรู้ไปแล้ว

2.ภาวะโลกรวน

หลังจากเจอโควิด โลกก็เจอวิกฤตภัยธรรมชาติที่รุนแรงขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง ไม่ว่าจะเป็นฝุ่น PM 2.5 ไฟป่า อากาศร้อนจัด ความแล้ง คลื่นความร้อน ตามด้วยพายุฝนการทำลายล้างสูง น้ำท่วมระดับมหาอุทกภัย ฝนตกหนักหลายวันหลายคืนติดต่อกัน แผ่นดิวไหว สึนามิ น้ำป่า ดินถล่ม ประเทศที่มีหิมะก็เจอพายุระดับแช่แข็งทั้งเมืองอย่างที่เกิดในเท็กซัส ฯลฯ ภัยธรรมชาติเหล่านี้ทำให้ร่างกายและจิตใจผู้คนอ่อนแอลง ขณะที่ก็ตระหนักได้ว่า โลกรวนใกล้ตัวกว่าที่คิดไว้มาก มันใกล้ระดับน้ำท่วมจ่อคอหอยกันเลยทีเดียว

อุตสาหกรรมปศุสัตว์ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 3.4% จากการปล่อยก๊าซทั้งหมดที่ทำลายชั้นบรรยากาศ และทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น ซึ่งมากเกือบเป็นสองเท่าของอุตสาหกรรมการบิน

ในการผลิตนมพืช 1 แก้วจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่าการผลิตน้ำนมสัตว์ 1 แก้วถึง 3 เท่า และยังใช้น้ำน้อยกว่าอีกด้วย เช่น นมถั่วเหลืองสิ้นเปลืองน้ำน้อยกว่าการผลิตน้ำนมวัว 64% จึงมีคนจำนวนไม่น้อยที่เลิกกินเนื้อสัตว์ รวมทั้งเลิกบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นนม ชีส โยเกิร์ต ไอศกรีม ฯลฯ และหันไปหาโปรตีนจากพืชแทน

นักช้อปยังเรียกร้องให้แบรนด์และผู้ผลิตนมพืชต่างๆ เปิดเผยข้อมูลด้วยว่าในกระบวนการผลิตทำอะไรบ้างที่ลดรอยเท้าคาร์บอน โดยเรียกร้องความโปร่งใสจากแบรนด์มากขึ้นในช่วง 5 ปี จาก 69% ในปี 2018 เป็น 72% ในปี 2021 และ 76% ในปี 2023

Photo: X@137degreesclub

ในรอบหลายปีที่ผ่านมา ในตลาดแดรี่จึงผุดตัวเลือกนมพืชมากมาย ไม่ว่าจะเป็นนมอัลมอนด์ นมแมคเดเมีย นมข้าว นมโอ๊ต นมกัญชง นมเฮเซลนัท นมเม็ดมะม่วงหิมพานต์ นมพิสตาชิโอ นมคีนัว นมแฟล็กซี้ด นมมันฝรั่ง นมมะพร้าว ฯลฯ

ตลาดนมทางเลือกในประเทศไทยในปี 2023 เติบโตถึง 41% มีมูลค่า 1,399 ล้านบาท มีนมพืชมาแรงหลายตัว เช่น นมโอ๊ต นมธัญพืช นมข้าว โดยที่นมอัลมอนด์คิดเป็นครึ่งหนึ่งของตลาดนมทางเลือก หรือราว 700 ล้านบาท

ยอดขายนมทางเลือกในห้างสรรพสินค้ามีอัตราการเติบโต 29% (ปี 2022-2023) มูลค่าประมาณ 887 ล้านบาท ส่วนยอดขายในร้านสะดวกซื้อมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 53% มูลค่า 869 ล้านบาท (ปี 2022-2023)

โดยแบรนด์ 137 ดีกรี ของ บริษัท ซิมเพิ้ล ฟู้ดส์ จำกัด ทำตลาดนมอัลมอนด์มา 9 ปี เป็นเจ้าแรกที่เปิดตัวนมจากถั่วเปลือกแข็ง จนกลายเป็นผู้นำของตลาดนมอัลมอนด์ ครองสัดส่วนถึง 42% โดยช่วงแรกในเจาะกลุ่มเป้าหมายคนที่ดื่มนมวัวไม่ได้ และคนรักสุขภาพ ปัจจุบันขยายตลาดไปเจาะกลุ่มผู้สูงอายุ และหญิงตั้งครรภ์ เพราะนมอัลมอนด์มีโฟเลตสูง และมีค่า GI ต่ำ

Photo: FB 137 degrees

รวมไปถึงพยายามเข้าถึงคนรุ่นใหม่ จึงร่วมงานกับศิลปินทีป๊อปเบอร์ต้นของไทย โดยชวนหนุ่มๆ วง BUS ไม่ว่าจะเป็นภีม-วสุพล พรพนานุรักษ์, คอปเปอร์-เดชาวัต พรเดชาพิพัฒ, ภู-ธัชชัย ลิ้มปัญญากุล และ เอเออชิรกรณ์ สุวิทยะเสถียร ที่จับคู่กันมามาร่วมไลฟ์ชวนดื่มนมอัลมอนด์และนมแมคคาเดเมีย สินค้าเรือธงของแบรนด์ 137 ดีกรีในปีนี้ สะท้อนถึงเสียงตอบรับที่ดีจากเหล่าบีอัสที่รักสุขภาพและรัก BUS ไปด้วย

Photo: X@Iammerrygirl

แบรนด์ 137 ดีกรีมีกำลังผลิต 2 ล้านลิตร/เดือน มีวางจำหน่ายใน 30 ประเทศ และครองอันดับ 1 ในตลาดนมอัลมอนด์ได้ในไทย กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม เป็นเรือธงแบรนด์นมพืชไทยในตลาดนมทางเลือกโลกที่ในปี 2023 มีมูลค่ากว่า 3.6 แสนล้านบาท

Words: Sritala Supapong

ข้อมูลจาก

https://brandinside.asia/137-degrees-almond-milk-2024/

you might like

“ลอนดรี้บาร์ (LaundryBar)” ผนึกกำลัง “ธรรมนาวา” ส่งต่อความห่วงใยปันน้ำใจช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย พร้อมส่งทีมเซอร์วิสซ่อมบำรุง ช่วยเหลือผู้ประกอบการแฟรนไชส์ จังหวัดเชียงราย และจังหวัดพะเยา

Scroll to Top