เช็กลิสต์ 4 ข้อ ธุรกิจของคุณพร้อมหรือยังกับการก้าวเข้าสู่ ‘สังคมผู้สูงอายุ’

เศรษฐกิจ การเมือง หรือเทรนด์เทคโนโลยีเป็นเรื่องที่เปลี่ยนแปลงได้ง่ายและยากที่จะคาดเดา แต่ข้อมูลทางประชากรศาสตร์กลับแม่นยำและกำลังชี้ย้ำว่าโลกเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) แล้วเรียบร้อย

โดยรายงานจากองค์การสหประชาชาติ (UN) พบว่า

  • ประชากรทั่วโลก 2 ใน 3 กำลังอาศัยอยู่ในประเทศที่มีอัตราการเจริญพันธุ์ (Fertility Rates) ต่ำ
  • ใน 32 ประเทศ พบว่าอายุประชากรโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 35 ปีในช่วงต้นศตวรรษ
  • คาดว่าอายุเฉลี่ยของประชากรจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในช่วงสิ้นทศวรรษนี้
  • 25 ประเทศ จาก 32 ประเทศดังกล่าว มีอายุประชากรมากกว่า 45 ปีเป็นจำนวน 2 เท่า

Photo: Vwalakte on Freepik

ตัดภาพมาที่ประเทศไทย ข้อมูลจาก Thaihealth Resource Center รายงานว่า

  • ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างเป็นทางการในปี 2565 ที่ผ่านมา
  • โดยมีจำนวนผู้สูงอายุราว 20-30%
  • และจะกลายเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอด (Super-aged Society) เช่นเดียวกับญี่ปุ่นที่จะมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปในร้อยละ 28 ในปี 2574

เป็นเรื่องจำเป็นที่ผู้ประกอบการและธุรกิจควรทราบถึงผลกระทบดังกล่าว บทความ The Global Population Is Aging. Is Your Business Prepared? – ประชากรโลกกำลังสูงวัย ธุรกิจของคุณพร้อมหรือยัง? ใน Harvard Business Review วิเคราะห์ปัจจัยสำคัญที่สังคมผู้สูงอายุส่งผลต่อธุรกิจในหลากหลายหัวข้อ เพื่อที่ธุรกิจจะได้เตรียมพร้อมรับมือได้ทันและก้าวเป็นผู้นำอย่างต่อเนื่อง

Photo: Freepik

1.เตรียมรับมือกับแรงงานผู้สูงอายุ

การที่ทั่วโลกประสบภาวะอัตราการเจริญพันธุ์ต่ำลงลง หลายประเทศที่เป็นผู้นำเศรษฐกิจโลกอย่างจีน แคนาดา อิตาลี ฯลฯ จึงขาดแคลนแรงงานหน้าใหม่ บริษัทต่างๆ จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับพนักงานที่อายุมากขึ้นแทน ทั้งนี้ได้ลงทุนพัฒนาทักษะตลอดจนฝึกอบรมแรงงานสูงอายุเหล่านี้ให้กลายเป็นแรงงานคุณภาพระยะยาว โดยอาศัยมาตรการตลอดจนเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เช่น พึ่งพาเทคโนโลยีเอ็กโซสเกเลตัน (Exoskeleton) ราวกับชุดเกราะที่ช่วยสนับสนุนและปกป้องผู้ใช้งาน ทนทานต่อการยกของหนักๆ เป็นต้น

นอกจากนี้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานหน้าใหม่ ในหลายตำแหน่งธุรกิจทดแทนด้วยแรงงานดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นระบบอัตโนมัติ พนักงานขายเสมือนจริง ตลอดจนพัฒนาศักยภาพของปัญญาประดิษฐ์ เป็นต้น

Photo: Freepik

2.ฐานลูกค้าสูงวัย

ทั่วโลกจะเต็มไปด้วยเหล่าผู้บริโภคสูงอายุ ดังนั้นธุรกิจของคุณควรจะพัฒนาสินค้าและบริการเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มคนดังกล่าว จากการสำรวจพบว่า

  • ประชากรอายุ 70 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นเป็น 627 ล้านคนทั่วโลก ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา
  • โดยเพิ่มจากตัวเลข 5% ไปสู่ 12%
  • และจะเพิ่มเป็น 8,000 ล้านคนหรือประมาณ 16% ในช่วงทศวรรษหน้า

ธุรกิจที่จะเติบโตอย่างเห็นได้ชัดอยู่ในหมวดของการดูแลสุขภาพ อาทิ ยารักษาโรคของผู้สูงอายุ การดูแลสุขภาพเบื้องต้นและการดูแลเฉพาะทาง ไปจนถึงผลิตภัณฑสุขภาพต่างๆ เป็นต้น

ส่วนในธุรกิจอื่น ผู้สูงอายุจะมีบทบาทในการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือใช้บริการมากขึ้น เช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บรรดาลูกๆ ก็จะซื้ออสังหาโดยคำนึงถึงความต้องการและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุภายในครอบครัว เป็นต้น

Photo: Freepik

3.อายุเกษียณงานที่สูงขึ้น

แม้ว่าอายุการเกษียณงานจะไม่เท่ากันในแต่ละประเทศตามปัจจัยต่างๆ แต่ทั่วโลกมีแนวโน้มจะปรับอายุเกษียณงานให้สูงขึ้นเพื่อบรรเทาผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจ อย่างเช่น

  • สิงคโปร์ขยายอายุเกษียณจาก 65 ปี เป็น 67 ปี
  • เกาหลีใต้ ขยายอายุเกษียณจาก 55 ปี เป็น 60 ปี
  • ญี่ปุ่น ขยายอายุเกษียณจาก 62 ปี เป็น 65 ปี
  • เนเธอร์แลนด์และไอร์แลนด์ได้ปรับแผนเกษียณเพื่อเงินบำนาญให้ตรงกับอายุขัยที่ยืนยาวขึ้นของประชากร
  • ประเทศไทยเตรียมพิจารณาขยายอายุเกษียณจาก 55 เป็น 60 ปี

ธุรกิจกำลังให้ความสนใจกับ ‘ตัวเลือกกึ่งเกษียณ – Semi-Retirement’ โดยบทความได้สำรวจแรงงานกลุ่มเบบี้บูม พบว่า

  • 79% สนใจตารางทำงานที่ยืดหยุ่น
  • 66% สนใจการเปลี่ยนงานไปเป็นตำแหน่งที่ปรึกษา
  • 59% อยากได้ตารางการทำงานที่มีชั่วโมงการทำงานที่ลดลง

แนวคิดนี้กำลังเป็นที่พิจารณาสำหรับผู้ประกอบการเพื่อธุรกิจจะได้ปรับตัวให้เข้ากับแรงงานสูงอายุ เป็นต้น

Photo: Freepik

4.การเปลี่ยนแปลงตลาดโลก

การพิจารณาตลาดในการลงทุนนอกเหนือจากปัจจัยทางประชากรศาสตร์แตกต่างกันในแต่ละประเทศแล้ว นักลงทุนอาจต้องพิจารณาแนวคิดและวิธีที่ผู้นำตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุดังกล่าวว่า มีมาตรการช่วยเหลือ ดูแลคุณภาพชีวิต มีสวัสดิการ ฯลฯ อย่างไรบ้าง เพราะสิ่งต่างๆ เหล่านี้ชี้ให้เห็นถึงศักยภาพและการเติบโตทางธุรกิจภายใต้แรงงานที่อายุมากขึ้นในอนาคต

4 ข้อหลักดังกล่าว ผู้ประกอบการควรศึกษาในเชิงลึกเพื่อเตรียมตัวรับมือ และบุคคลทั่วไปไม่ว่าท่านที่กำลังก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุโดยตรง หรือเป็นบุคคลที่ต้องเกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุก็ตาม อย่าลืมพัฒนาทักษะให้สอดรับกับโลกใบใหม่ที่ผู้บริโภคและแรงงานสูงวัยมากขึ้น ปรับตัวได้ไวเท่ากับยืนได้อย่างแข็งแรงค่ะ

 

 

Words: Varichviralya Srisai

ข้อมูลจาก:

you might like

Scroll to Top