อัพเดทเศรษฐกิจอาเซียน-จีน: เมษายน 2567
- กิจกรรมทางเศรษฐกิจจีนส่งสัญญาณฟื้นตัว ขณะที่ภาคอสังหาฯ ยังชะลอ
- การลาออกของประธานาธิบดี คาดไม่ส่งผลต่อเศรษฐกิจเวียดนามในระยะยาว
- ผู้นำคนใหม่อินโดนีเซียตั้งเป้าหมายเศรษฐกิจโต 8% สูงสุดในรอบเกือบ 3 ทศวรรษ
จีน: เดือนม.ค.-ก.พ. 67 กิจกรรมทางเศรษฐกิจจีนส่งสัญญาณฟื้นตัว ขณะที่ภาคอสังหาริมทรัพย์จะยังเป็นปัจจัยกดดันเศรษฐกิจ
- กิจกรรมทางเศรษฐกิจของจีนเดือนม.ค.-ก.พ. 67 ส่งสัญญาณฟื้นตัว ในขณะที่ภาคอสังหาริมทรัพย์ยังไม่มีสัญญาณฟื้นตัว ในเดือนม.ค.- ก.พ. 67 ยอดค้าปลีกขยายตัวที่ 5.5% YoY ขณะที่ภาคการผลิตของจีนขยายตัวได้ดีที่ 7.0% YoY จาก 6.8% ในเดือนธ.ค.66 ด้านการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรขยายตัวได้ที่ 4.2% YoY (หากไม่รวมการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์เติบโตได้ที่ 8.9% YoY) โดยการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 6.3% YoY ซึ่งคาดว่าได้รับปัจจัยหนุนจากมาตรการกระตุ้นทางด้านการคลังของทางการจีน แม้ว่าเศรษฐกิจจีนในช่วงดังกล่าวจะเผชิญกับฐานที่สูงเมื่อปีก่อนหลังจากการผ่อนคลายโควิดเป็นศูนย์ อย่างไรก็ตาม การลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ยังหดตัวต่อเนื่องอยู่ที่ -9.0% YoY ตัวเลขยอดขายบ้านของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ 100 แห่งของจีนปรับลดลง -60%YoY และ -21% MoM ในเดือนก.พ.67 ขณะที่ราคาบ้านใหม่ของจีนในเดือนก.พ.67 ยังปรับลดลงอยู่ที่ -1.4%YoY
- สถานการณ์การผิดนัดชำระหนี้ของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จะยังมีให้เห็นต่อเนื่อง ตัวเลขการระดมทุนของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เช่น การขอสินเชื่อในประเทศ การระดมทุนผ่านทางบริษัทโดยตรง (self-raised funds) ปรับลดลงที่ -24.1% YoY จาก -13.6% ในปี 66 นอกจากนี้ เดือนก.พ. 67 การผิดนัดชำระหนี้ของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในตราสารหนี้
การผิดนัดชำระหนี้ของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในจีนเร่งตัวขึ้นใน
สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อยู่ที่ 4.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจาก 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือนม.ค.67 สะท้อนว่าการเข้ามาสนับสนุนเงินกู้ผ่านมาตรการ white-list ของภาครัฐที่เริ่มต้นเมื่อเดือนม.ค. 67 (ล่าสุด ณ ปลายเดือนก.พ.67 มียอดอนุมัติเงินกู้ไปแล้ว 200,000 ล้านหยวน) ปัจจุบันอาจยังไม่เพียงพอที่จะสนับสนุนสภาพคล่องของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
- สงครามเทคโนโลยีเข้มข้นขึ้นและเป็นปัจจัยเสี่ยงของเศรษฐกิจจีน เนื่องจากทางการจีนกล่าวว่าจะยุติการใช้ชิปจากบริษัทผู้ผลิตชิปรายใหญ่ของสหรัฐฯ ที่มีจีนเป็นตลาดสำคัญ และจะเริ่มใช้ชิปที่ผลิตจากบริษัทสัญชาติจีนแทน สอดคล้องไปกับความต้องการพึ่งพาเทคโนโลยีในประเทศของจีน และถือเป็นมาตรการตอบโต้สหรัฐฯ ที่ล่าสุดจะมีการเตรียมคว่ำบาตรเครือข่ายบริษัทสัญชาติจีนที่มีส่วนช่วยเหลือ Huawei ในการผลิตชิปและโมเด็ม 5G เป็นของตัวเอง แม้ว่ามาตรการดังกล่าวยังไม่มีความชัดเจนในทางปฏิบัติ ในขณะที่อีกด้านหนึ่ง ในการประชุม China Development Forum ระหว่างวันที่ 24 -25 มี.ค.67 ที่ผ่านมา ได้มีการระบุว่าทางการจีนพร้อมสนับสนุนการเข้ามาลงทุนของบริษัทต่างประเทศโดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ซึ่งในการประชุมดังกล่าวได้มี CEO กว่า 90 บริษัทซึ่งรวมถึง CEO ของบริษัทแอปเปิลเข้าร่วมประชุมด้วย
- ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าเศรษฐกิจจีนปี 2567 มีแนวโน้มเติบโตชะลอลงจากปีก่อนมาอยู่ที่ 5% ต่ำกว่าเป้าหมายภาครัฐที่ 5.0% ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงจากภาคอสังหาริมทรัพย์ และความตึงเครียดจากสงครามเทคโนโลยีระหว่างสหรัฐฯ-จีนที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่การผ่อนคลายนโยบายการเงินและคลังเพิ่มเติมยังมีความจำเป็น
เวียดนาม: การลาออกของประธานาธิบดีเวียดนามคาดไม่ส่งผลต่อเศรษฐกิจเวียดนามในระยะยาว คาดทั้งปี 67 เศรษฐกิจเวียดนามโต 5.8-6.0%
- การลาออกของประธานาธิบดีเวียดนามอาจส่งผลต่อบรรยากาศในการลงทุนในระยะสั้น แต่คาดว่าไม่ส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามในระยะยาว กระแสการปราบปรามการคอร์รัปชันในเวียดนามส่งผลให้ประธานาธิบดีหวอ วัน เถืองยื่นใบลาออก หลังดำรงตำแหน่งเพียง 1 ปี และนับเป็นประธานาธิบดีคนที่ 2 ที่ถูกกดดันให้ลาออกในช่วงปีที่ผ่านมา การลาออกของประธานาธิบดีเวียดนามอาจส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอนทางการเมืองซึ่งอาจกระทบต่อบรรยากาศในการลงทุน โดยนักลงทุนต่างชาติต้องการรอดูความชัดเจนทางการเมืองจนกว่าจะมีการแต่งตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ ส่วนแนวนโยบายเศรษฐกิจ รวมทั้งนโยบายการค้าการลงทุนกับต่างประเทศคาดว่าไม่ได้รับผลกระทบจากการลาออกในครั้งนี้ จึงมองว่าเหตุการณ์นี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อปัจจัยพื้นฐานและการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามในระยะยาว
- ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าทั้งปี 2567 เศรษฐกิจเวียดนามมีแนวโน้มเติบโตอยู่ที่ 5.8-6.0% จากแรงหนุนของการส่งออก เศรษฐกิจเวียดนามในไตรมาส 1/2567 เติบโตชะลอตัวมาอยู่ที่ระดับ 5.66%YoY จากการชะลอตัวของการลงทุนในภาพรวม โดยการลงทุนภาครัฐที่ชะลอตัวส่วนหนึ่งเป็นผลจากกระแสการปราบปรามการคอร์รัปชันในเวียดนามที่ทำให้การอนุมัติโครงการและการเบิกจ่ายงบประมาณลงทุนภาครัฐเกิดความล่าช้า อย่างไรก็ตาม การส่งออกยังเป็นปัจจัยหนุนการเติบโตเศรษฐกิจของเวียดนามในไตรมาสที่ 1/2567 โดยมูลค่าการส่งออกเติบโตเร่งขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 17.2%YoY โดยการส่งออกที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ (30.4%YoY) ส่วนผลกระทบของวิกฤตทะเลแดงต่อการส่งออกไปยังยุโรปยังมีค่อนข้างจำกัด เห็นได้จากมูลค่าการส่งออกไปยัง EU ที่ยังเพิ่มขึ้นถึง 15.5%YoY ในช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ. ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าการส่งออกจะเป็นปัจจัยหนุนหลักในการเติบโตของเศรษฐกิจเวียดนามในช่วงที่เหลือของปี อันเป็นผลจากความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของโลกที่เพิ่มขึ้นและฐานการส่งออกที่ต่ำในปีก่อน อย่างไรก็ตาม สถาบันการเงินก็เพิ่มความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้นเนื่องจากสัดส่วน NPL ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้การบริโภคภาคครัวเรือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการซื้อรถยนต์และที่อยู่อาศัยซึ่งส่วนใหญ่จำเป็นต้องใช้ สินเชื่อมีแนวโน้มชะลอตัวลงในปีนี้
กัมพูชา: เศรษฐกิจกัมพูชาคาดเติบโตเร่งขึ้นเล็กน้อยในปี 2567 แต่ก็มีความเสี่ยงจากการพึ่งพาเศรษฐกิจจีนและระดับหนี้ภาคเอกชนที่เพิ่มสูงขึ้น
- เดินทางเข้ามาเพิ่มขึ้น 18.0%YoY อยู่ที่ 988,574 คน ซึ่งนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มาจากประเทศไทย (247,530 คน) เวียดนาม (185,385 คน) และจีน (109,990 คน) ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวต่างชาติคิดเป็น 18.2% ของ GDP กัมพูชาในช่วงก่อนเกิดโควิด 19 (ปี 2562) นอกจากนี้ การส่งออกของกัมพูชาก็ฟื้นตัวขึ้นจากสถานการณ์การส่งออกโลกที่ดีขึ้นและฐานที่ต่ำ โดยในเดือนม.ค.-ก.พ.67 การส่งออกของกัมพูชาขยายตัวอยู่ที่ 22.7%YoY ซึ่งการส่งออกที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากสินค้ากลุ่มเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม (26.4%YoY) ข้าว (40.3%YoY) และผักผลไม้ (53.8% YoY) ทั้งนี้ การส่งออกเป็นปัจจัยหนุนสำคัญของเศรษฐกิจกัมพูชาคิดเป็นสัดส่วน 76% ของ GDP ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและการส่งออกจะช่วยหนุนให้เศรษฐกิจกัมพูชาเติบโตได้อยู่ที่5.8% ในปี 2567
- โครงสร้างพื้นฐานจะช่วยหนุนการเติบโตของเศรษฐกิจกัมพูชาได้ในระยะกลาง โดยรัฐบาลกัมพูชามีแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายในปี 2573 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือของภาครัฐและภาคเอกชน (PPP) โดยเฉพาะกับบริษัทจีน รัฐบาลกัมพูชาวางแผนจะสร้างโครงสร้างพื้นฐานรวม 16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายใน 6 ปีข้างหน้า ซึ่งหลายโครงการได้เริ่มการก่อสร้างแล้ว ดังนั้น โครงการลงทุนเหล่านี้จะช่วยเพิ่มการลงทุนภาครัฐ รวมทั้งส่งเสริมการขยายตัวของเม็ดเงิน FDI ในระยะข้างหน้า
- อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจกัมพูชายังต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงจากทั้งในและต่างประเทศ โดยปัจจัยเสี่ยงในประเทศเกิดจากระดับหนี้เอกชน (private debt) ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาอยู่ที่ระดับ 160% ของ GDP อีกทั้งยังเผชิญกับปัญหาในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จากโครงการที่สร้างไม่เสร็จจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เมืองสีหนุวิลล์ ซึ่งเป็นเพราะบริษัทอสังหาริมทรัพย์จีนประสบปัญหาจนไม่สามารถลงทุนก่อสร้างต่อในหลายโครงการ ส่วนปัจจัยเสี่ยงจากต่างประเทศก็เป็นผลมากจากการพึ่งพาเศรษฐกิจจีนค่อนข้างมาก ซึ่งมูลค่า FDI จากจีนคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 50% ของมูลค่าการลงทุนต่างประเทศทั้งหมดในกัมพูชา ดังนั้น หากเศรษฐกิจจีนชะลอตัวต่ำกว่าคาด ก็อาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศโดยรวมของกัมพูชา
ผู้นำคนใหม่ของอินโดนีเซียตั้งเป้าหมายเศรษฐกิจโต 8% สูงสุดในรอบเกือบ 3 ทศวรรษ
- ทางการอินโดนีเซียประกาศผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีอินโดนีเซียอย่างเป็นทางการระบุว่านายปราโบโว ซูเบียนโต (Prabowo Subianto) เป็นประธานาธิบดี ด้วยคะแนนเสียง 6% โดยมีนายยิบราน รากาบูมมิง รากา (Gibran Rakabuming Raka) เป็นรองประธานาธิบดี มีกำหนดการเข้าดำรงตำแหน่งอย่างเป็นทางการในเดือน ต.ค.2567
- นโยบายเศรษฐกิจของว่าที่ผู้นำคนใหม่ที่เปิดเผยออกมา มีเป้าหมายขับเคลื่อนเศรษฐกิจเติบโต 8% ในระยะ 5 ปี สูงสุดในรอบเกือบ 3 ทศวรรษ (รูปที่ 7 ) ซึ่งในรายละเอียดของนโยบายยังคงเดินหน้าแผนงานเดิมในการย้ายเมืองหลวงตามกำหนดเดิม นโยบายการห้ามส่งออกแร่ดิบเพื่อให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมกลางน้ำและปลายน้ำในประเทศ รวมถึงแผนงานใหม่ที่ให้ความสำคัญกับการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วยการจัดสรรงบประมาณขนาดใหญ่ นโยบายสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับกระแสโลก รวมถึงนโยบายด้านต่างประเทศที่ยังคงคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศ
- ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า นโยบายเศรษฐกิจของนายปราโบโว ซูเบียนโต ยังมีความท้าทายอย่างมากด้วยเป้าหมายเศรษฐกิจเติบโตที่ 8% ที่คงต้องอาศัยปัจจัยหลายด้านประกอบกัน ต้องรอดูความชัดเจนของมาตรการหลังจากเข้ามาบริหารประเทศแล้ว ซึ่งจะมีผลต่อเศรษฐกิจในปี 2568 เป็นต้นไป ในขณะที่ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมิน เศรษฐกิจอินโดนีเซียในปี 2567 จะรักษาระดับการเติบโตได้ที่ใกล้เคียง 5% จากแรงหนุนผ่านการบริโภค การลงทุนทั้งในประเทศและจากต่างประเทศ ขณะที่ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกจะยังเป็นความเสี่ยงสำคัญของเศรษฐกิจอินโดนีเซีย
สปป.ลาวเดินหน้าปรับโครงสร้างรายได้ภาคการคลังขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มเป็น 10%
- สปป.ลาว ประกาศขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เป็น 10% จาก 7% เพื่อเพิ่มรายได้ของภาครัฐและสนับสนุนการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะข้างหน้า โดยประธานาธิบดีลงนามประกาศในประราชกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 19 มี.ค.2567 ครอบคลุมสินค้าบริโภคทั่วไป สินค้านำเข้า ภาษีสินค้าบริการ ค่าน้ำ ค่าไฟ ซึ่งการปรับอัตราภาษีขึ้นมาอยู่ที่ 10% นี้เป็นการปรับมาสู่ภาวะปกติที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2553-2564 และทางการได้ปรับลดลงเป็นการชั่วคราวที่ 7% ตั้งแต่ ม.ค.2565 เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวผ่านวิกฤตโควิด-19
- ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การปรับขึ้นภาษีดังกล่าวเป็นหนึ่งในแผนงานเพื่อปรับปรุงฐานะการคลังของประเทศ ท่ามกลางการขาดดุลการคลังของ สปป. ลาวอย่างต่อเนื่อง (รูปที่ 8) ในขณะที่ระดับหนี้สาธารณะ ณ สิ้นปี 2566 อยู่ที่ 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดเป็น 125% ของ GDP อย่างไรก็ตาม การปรับเพิ่มอัตรา VAT ให้กลับไปสู่ระดับ10% อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สปป. ลาว ดังนี้ 1) หากผู้ผลิตผลักภาระภาษีที่เพิ่มขึ้นให้ผู้บริโภคก็จะซ้ำเติมปัญหาเงินเฟ้อที่สูงอยู่แล้ว และ 2) การเก็บภาษีในอัตราเดียวกันทำให้ผู้มีรายได้น้อยซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในประเทศรับภาระภาษีที่เพิ่มขึ้นมากกว่าคนรายได้สูง ซึ่งอาจจะกระทบการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคให้อ่อนแรงลง ทั้งนี้ ท่ามกลางปัญหาเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง 25.35% (เดือน ก.พ.2567) อัตราแลกเปลี่ยนที่ยังผันผวนในระดับอ่อนค่าต่อเนื่องอยู่ที่ 19,655 กีบ/ดอลลาร์ฯ (Reference Rate ณ 26 มี.ค.67) ประกอบกับผลกระทบจากการขึ้นภาษี VAT ดังกล่าวเศรษฐกิจสปป.ลาวในปี 2567 อาจจะขยายตัวได้ไม่ถึงเป้าหมายของทางการที่ 4.5%