เตรียมตัวรับมือกับภัยพิบัติที่ไม่คาดคิด

สาธารณภัยพิบัติต่างๆ ไม่ว่าจะอัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย ภัยจากโรคระบาด หรือภัยที่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์ แม้ว่าจะเกิดขึ้นแบบทันทีโดยที่เราไม่ได้มีเวลาตั้งตัว แต่การเตรียมตัวให้พร้อมอยู่เสมอ ก็จะทำให้เมื่อต้องเผชิญหน้ากับเหตุที่เกิดขึ้นได้ด้วยสติที่จะทำให้ผ่านเหตุการณ์นั้นไปได้ด้วยดี

วันนี้  The Optimized มีคำแนะนำดีๆ มาฝากทุกคนในเรื่องของการเตรียมความพร้อมเมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ดังนี้ค่ะ

  1. เรียนรู้แนวทางการรับมือภัยพิบัติของต่างประเทศ วิธีที่ดีที่สุดคือการดูภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับการเผชิญอุบัติภัยต่างๆ เพราะจะทำให้เกิดการจดจำได้ดีกว่าการเรียนรู้แบบนั่งเรียนในห้องเรียน ดังนั้นต่อไปเมื่อดูภาพยนตร์ก็อย่าเอาแต่ดูเพื่อความสนุกเพียงอย่างเดียว แต่ดูแล้วให้คิดตาม เพราะหลายๆ อย่างสามารถนำมาปรับใช้เมื่อต้องพบเจอเหตุการณ์จริงได้
  2. ควรติดตั้งถังดับเพลิงสำหรับใช้ในการดับเพลิง  เพราะการดับเพลิงที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อเพลิงธรรมดา จะไม่สามารถใช้น้ำดับได้ แต่จะต้องใช้ถังดับเพลิงที่มีทั้งถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง ชนิดน้ำยาเหลวระเหย ชนิดน้ำยาโฟม ชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือถังดับเพลิงแบบ Wet Chemical Class K แต่ไม่ว่าจะถังดับเพลิงแบบไหน ก็ควรจะต้องมีการตรวจเช็คสภาพการใช้งานให้อยู่ในสภาพดี พร้อมใช้งานอยู่เสมอ
  3. เตรียมหมายเลขโทรศัพท์ โทรสายด่วน แจ้งเหตุด่วน ของหน่วยงานต่างๆ ไว้ในจุดที่มองเห็นได้ง่ายและชัดเจน เพื่อสามารถใช้งานได้ง่ายและสะดวกเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน
  4. การเตรียมตัวให้พร้อมอยู่เสมอเมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ควรเตรียมหน้ากาก N95 ไว้ในจุดที่หยิบใช้ได้สะดวก เมื่อต้องใช้ในกรณีเกิดเพลิงไหม้ เพราะหากเพลิงไหม้และมีสารเคมี หน้ากาก N95 จะช่วยป้องกันการสูดดมสารเคมีเข้าร่างกายได้
  5. เรียนรู้เส้นทางการหนีออกจากตัวอาคารบ้านเรือน กรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้ โดยเฉพาะในอาคารสูงที่จะไม่สามารถใช้ลิฟต์ได้เมื่อเกิดเพลิงไหม้ จำเป็นที่จะต้องรู้ว่าจากจุดที่อยู่ บันไดหนีไฟไปทางไหนได้บ้าง  การหนีขึ้นไปบนดาดฟ้าควรทำเมื่อไม่สามารถหาทางหนีออกจากอาคารได้จริงๆ  ระหว่างการหนีออกจากอาคาร ให้ตรวจสอบสภาพการไหม้ด้วยการใช้มือสัมผัสกับผนังหรือลูกบิดประตู หากไม่ร้อนให้เปิดประตูห้องออกไปช้าๆ และอพยพไปตามเส้นทางหนีไฟ แต่หากมีความร้อน ควรสวมหน้ากากเพื่อป้องกันการสูดดมควันที่จะทำให้สำลักควันได้ หากไม่มีหน้ากาก และใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำปิดปากและจมูก หรือใช้ถุงพลาสติกขนาดใหญ่ตักอากาศแล้วคลุมศีรษะ และหนีออกจากอาคารด้วยการคลานต่ำไปกับพื้น เพื่อให้มีอากาศหายใจเพียงพอจนกว่าจะหลุดออกมาจากอาคารได้ หากอยู่ชั้นสูงๆ ให้ใช้บันไดหนีไฟเพราะจะมีช่องระบายอากาศ ลดการสูดดมควันไฟเข้าสู่ร่างกายได้ ระหว่างการหนีออกมา หากเสื้อผ้าที่สวมใส่ติดไฟ ให้ถอดออก หรือนอนกลิ้งไปบนพื้นเพื่อดับไฟ ห้ามวิ่งอย่างเด็ดขาดเพราะจะทำให้ไฟยิ่งลามติดเร็วขึ้น
  6. กรณีภัยที่เผชิญ เป็นภัยจากแผ่นดินไหว อาคารทรุด ทันทีที่รับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือน ต้องหาที่มั่นคงให้กับตัวเองเพื่อจับหรือยึดตัวเองไว้ หากไม่มี ให้หมอบลงกับพื้นเพื่อป้องกันการล้ม และไม่ควรอยู่ใกล้กับกระจกเพราะแรงสั่นสะเทือนอาจจะทำให้กระจกร้าวหรือแตก กระเด็นใส่ตัวได้ และหากยังติดอยู่ในอาคาร ควรหาที่หลบภัยใกล้ๆ  ของชิ้นใหญ่ๆ เช่น ขดตัวในช่องแคบๆ ข้างโซฟา กรณีภัยที่เผชิญคืออาคารถล่มและคุณติดอยู่ในอาคารนั้น ไม่ควรส่งเสียงเรียกให้คนช่วย เพราะอาจจะมีสารเคมีปนเปื้อนอยู่ในอากาศได้ แต่ควรใช้การส่งเสียงอย่างอื่นแทน เช่น การเป่านกหวีด หรือการเคาะโลหะ ส่วนการติดบนชั้นดาดฟ้าของอาคารกรณีเกิดเพลิงไหม้ ควรยกมือโบกเพื่อขอความช่วยเหลือกรณีทางการส่งเฮลิคอปเตอร์มารับ
  7. ควรจัดเตรียมสิ่งของจำเป็นสำหรับการอพยพ ด้วยการจัดเตรียมใส่กระเป๋าและวางเตรียมไว้ในจุดที่พร้อมจะหยิบและอพยพออกมาจากสถานที่แห่งนั้นได้ในทันที ของที่แนะนำให้จัดเตรียมไว้ ได้แก่
  8. อาหารพร้อมรับประทาน และน้ำดื่ม สำหรับ 1-2 มื้อ
  9. ไฟฉายพร้อมถ่านสำรอง หรือเทียนไข พร้อมไฟแช็คหรือไม้ขีด ถ้าเป็นไฟแช็คน้ำมัน อย่าลืมเตรียมน้ำมันไฟแช็คไว้ด้วย
  10. ยาประจำตัว ยาที่จำเป็น (ยาแก้ไข้ ยาแก้ปวด ยาแก้ท้องเสีย) อุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้น (พลาสเตอร์ยา สำลี ผ้าก็อซ เบตาดีนขวดเล็ก ยาหม่อง ยาทาแก้เคล็ดขัดยอก)
  11. อุปกรณ์สำหรับใช้ในชีวิตประจำวันที่จำเป็น เช่น แปรงและยาสีฟัน ผ้าขนหนูหรือผ้าขาวม้า ผ้าเช็ดหน้า 2-3 ผืน เสื้อยืด 1-2 ตัว กางเกงยีนส์หรือกางเกงผ้าหนา เสื้อกันฝนหรือร่ม  เสื้อแจ็คเก็ต รองเท้าที่สวมสบายและเคลื่อนไหวสะดวก กรรไกรตัดเล็บ โทรศัพท์มือถือ สายชาร์ต พาวเวอร์แบงก์พร้อมสายชาร์ต เงินสด บัตรเครดิต บัตรเอทีเอ็ม เอกสารสำคัญ (บัตรประชาชน บัตรประกันสุขภาพ ใบขับขี่)  เจลหรือสเปรย์แอลกอฮอล์ และแมสค์ปิดปากแบ่งบรรจุใส่ในซองพลาสติก 4-5 ชิ้น และนกหวีดพร้อมสายหรือสร้อยสำหรับใช้คล้องคอ
  12. ที่เปิดกระป๋อง
  13. มีดพกหรือคัตเตอร์
  14. สมุดจดขนาดเล็กและปากกา
  15. ผ้ายางหรือผ้าใบ ยาว 2-3 เมตร
  16. ถุงพลาสติกใบใหญ่ๆ 2-3 ใบ
  17. เชือก 2-3 เมตร
  18. หมวกนิรภัย ไว้สำหรับใช้กรณีแผ่นดินไหว หรืออาคารถล่ม
  19. นัดหมายกับสมาชิกในครอบครัวถึงจุดนัดพบเมื่ออพยพออกมาได้แล้ว เพราะแม้ว่าคุณจะมีโทรศัพท์มือถือที่แบตเต็ม แต่อาจจะใช้งานไม่ได้ชั่วคราวหลังเกิดเหตุการณ์
  20. กรณีที่มีสัตว์เลี้ยง ควรหาข้อมูลไว้ให้พร้อมว่าในรัศมีรอบบ้านหรือที่พัก มีบริการรับฝากสัตว์เลี้ยงที่ใดบ้าง และควรเตรียมอุปกรณ์จำเป็นสำหรับสัตว์เลี้ยงของคุณ ได้แก่ สมุดประจำตัวสัตว์เลี้ยง อาหาร (แบ่งใส่ถุงหรือกระปุกสำหรับ 2-3 มื้อ เผื่อในกรณีที่สัตว์เลี้ยงของคุณไม่ทานอาหารของสถานรับฝาก) ยาประจำตัว ผ้าห่มหรือของเล่นชิ้นโปรดของสัตว์เลี้ยงของคุณ และเมื่อนำสัตว์เลี้ยงไปฝากสถานรับเลี้ยง ควรแจ้งสถานรับฝากถึงอาการหรือโรคประจำตัว สิ่งที่ชอบและไม่ชอบของสัตว์เลี้ยงคุณให้สถานรับฝากได้ทราบด้วย และที่สำคัญ อย่าลืมบอกสัตว์เลี้ยงของคุณด้วยว่าให้เขาอยู่ที่นั่นเป็นการชั่วคราวเพราะคุณไม่สามารถนำเขาไปกับคุณได้

ทุกเรื่องราว ทุกปัญหา หากเรามี “สติ” แล้ว เชื่อแน่นอนว่าเราจะผ่านมันไปได้ด้วยดี ขอให้ทุกคนตั้งสติและ

เตรียมพร้อม เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาไม่ว่าจะแบบใด เรื่องใด หากเรามี “สติ” แล้ว เชื่อว่า จะเกิด “ปัญญา” ทำให้เราต้องรอด อย่างแน่นอนค่ะ

#ภัยพิบัติ #ไฟไหม้ #โรคภัย #น้ำท่วม #Theoptimized

you might like

Scroll to Top