Ripple Effect พลังของถ้อยคำอ่อนโยนที่ทำให้คนใจฟู

ท่ามกลางผู้คนขวักไขว่ เมืองใหญ่ที่เร่งรีบ คนทำงานเหนื่อยล้า ใช้เวลาหยุดพักเล็กน้อยไปกับการก้มหน้าไถมือถือ แต่แล้วก็มีคนแปลกหน้ายื่นกระดาษให้ คลี่ออกอ่านเป็นถ้อยคำว่า

“เหนื่อยใช่ไหม วันนี้เธอเก่งมากเลย”

“ผ่านวันนี้มาได้ คุณเก่งมากแล้วนะ”

ใครที่ได้รับกระดาษบรรจุถ้อยคำเหล่านี้ต้องมีอึ้ง จึ้ง ซึ้ง เพราะเป็นถ้อยคำที่ไม่มีใครถามกันในสังคม Productivity ซึ่งการพูดว่าทำงานหนัก = ดี, ไม่ได้พักเลย = ขยัน, งานเยอะมาก = เก่ง และ ช่วงนี้เบิร์นเอาต์ = ประสบความสำเร็จ

กระดาษ Double A ทำแคมเปญโฆษณา วันดีๆ กับกระดาษดีๆ ส่งคำดีๆ ใส่กระดาษ ขึ้นป้ายบิลบอร์ดไปทั่วเมือง

ฟีดแบ็กเป็นอย่างไร The Optimized ชวนไปหาคำตอบ

Photo: X@bbigkachu

Photo: X@nchdaq

คนจำนวนไม่น้อยที่ได้ดูคลิปวิดีโอ รับกระดาษ หรือเห็นป้ายบิลบอร์ดบรรจุถ้อยคำเหล่านี้จาก Double A อาจรู้สึกถึงคลื่นพลังอ่อนโยน เหมือนมีมือที่มองไม่เห็นมาแตะไหล่เบาๆ ดังคอมเมนต์ใน X เป็นต้นว่า

“ยกให้เป็นแคมเปญที่โคตรน่ารัก ถ้าขับรถเลิกงานมาเหนื่อยๆ หรือได้เห็นข้อความแบบนี้ก่อนเข้างาน คงเป็น good day มากๆอีกวันจริงๆนะ”  

“ดูแล้วน้ำตาซึม มันตื้นตันอะ เวลาเราได้รับข้อความแบบนี้จากคนแปลกหน้า ในวันที่เราเหนื่อย มันเหมือนเติมไฟในวันที่ล้าได้ดีมากๆ คือในโฆษณาไม่มีอะไรดราม่าเลยด้วยซ้ำนะ พลังบวกมากๆ ดูแล้วอิ่มใจ โคตรจะใจฟู”

“ชอบอะไรแบบนี้มาก ยิ่งประโยค ‘เหนื่อยใช่ไหม เก่งมากเลย’ เป็นประโยคที่อยากบอกตัวเองทุกวัน ยิ่งเวลาได้อ่านข้อความดีๆจากใครสักคน มันรู้สึกดีบอกไม่ถูกเลย”  

‘วันนี้คุณเก่งมาก ทำเต็มที่แล้ว’ เป็นประโยคสั้นๆแต่ฮีลใจได้ดีมากๆ ชอบโฆษณาที่ทำมาเพื่อให้กำลังใจกันแบบนี้จัง เพราะการได้กำลังใจจากใครสักคนมันอาจจะเติมพลังให้ใครคนนึงได้มากกว่าที่คิดอีก :-)”

“เป็นการโปรโมตของ Double A ที่น่ารักมากๆ สำหรับบางคนแค่ได้รับกำลังใจดีๆ ผ่านกระดาษแบบนี้ ก็เป็นการสร้างวันดีๆให้เขาได้แล้ว ;-;”  

“ทำงานเหนื่อยๆมาทั้งวัน ตั้งแต่เช้าจนค่ำ ตอนเลิกงาน ใกล้จะกลับบ้าน ถ้าได้เจออะไรแบบนี้ มันทำให้ใจฟู ช่วยให้หายเหนื่อยได้จริงๆนะ ฮีลใจมากๆ”

Photo: linkedin

หนังสือ Burnout Society โดย Han Byung Chul นักปรัชญาชาวเกาหลีใต้ในเยอรมัน ชำแหละที่มาที่ไปของอาการเบิร์นเอาต์ที่กลายเป็นภาวะ ‘ปกติ’ แห่งยุคสมัยไปได้ ฮันบยองชอลกล่าวว่า คนทำงานยุคใหม่มีตนเองเป็นเจ้านายและเป็นลูกน้องในตัวเอง ความสัมพันธ์ที่ทับซ้อนกันอยู่ในตัวคนคนเดียวกันนี้ ทำให้เราขูดรีดเฆี่ยนตีตัวเองโดยไม่มีใครร้องขอ ต่างจากยุคก่อนที่เรามีเจ้านายคอยกดดัน เราจึงโกรธเกลียดก่นด่าเจ้านายได้เต็มที่ แต่ยุคนี้เมื่อเราทำผิดพลาด ทำได้ไม่ถึงเป้าหมาย ไม่ก้าวหน้า เราจึงชี้มือมาที่ตัวเองและก่นด่าว่าเราไม่ได้เรื่อง เราพยายามไม่มากพอ

เพราะแนวคิด Productivity ที่เฟื่องฟูมากในยุคนี้บอกว่า ความสำเร็จเกิดขึ้นจากตัวเราเอง “ทุกอย่างเริ่มต้นที่เรา” ทำให้มนุษย์แยกตัวเองออกมาจากชุมชน สังคมและรัฐ แล้วดำรงชีวิตในฐานะปัจเจกบุคคล

สุขภาพที่ดีเริ่มต้นที่ตัวเรา – เราจึงไปฟิตเนส ซื้อประกัน
คนไทยแก่ก่อนรวย ป่วยก่อนตาย – เราจึงเล่นหุ้น ซื้อกองทุน ออมทอง

ความสำเร็จทำได้ด้วยตัวเรา – เราจึงทำงานหนักแล้ว หนักอยู่ หนักต่อไป

แต่คนที่สังคมมองว่าสำเร็จไม่ได้บอกทุกอย่างว่าเขาได้มันมาอย่างไร เส้นสาย การล็อบบี้ เงินที่บ้าน คอนเน็กชันสมัยเรียน เงินใต้โต๊ะ ฯลฯ เราจึงเข้าใจไปว่า ทุกอย่างเป็นไปได้ด้วยตัวเรา Make the Impossible Possible คือคาถาประจำใจ

ถ้าเราเบิร์นเอาต์…แปลว่าเราแมเนจตัวเองไม่ดีพอ

ถ้าเราบ่นว่าเหนื่อย…ถามหน่อย มีใครไม่เหนื่อยบ้าง

ถ้าเราไม่สำเร็จ…ก็เป็นเพราะตัวเราอีกนั่นแหละ เพราะคนอื่นเขายังทำได้

สังคมเบิร์นเอาต์จึงมีทัศนคติต่อการทำงานหนักแบบโอเวอร์โหลดว่าเป็นเรื่องดี “เราเข้าใกล้เป้าหมายแล้ว” การพูดว่า “งานเยอะมาก ไม่ได้พัก ไม่มีเวลาใช้เงิน ไม่มี Work/Life Balance” ไม่ใช่คำบ่น แต่คำอวด เพราะ “ฉัน Productive”

คนทำงานยุคนี้จึงเหนื่อยแบบที่พักเท่าไรก็ไม่หายเหนื่อย ไม่ใช่ว่าพักสองวันก็หาย เพราะเราหมดแรงทางใจ เหนื่อยทางความรู้สึก (Emotional Exhaustion) จากการที่ต้องพยายาม positive และ productive อยู่ตลอดเวลา

Heath Ledger นักแสดงผู้ล่วงลับที่รับบท Joker ได้ดีที่สุด เคยกล่าวไว้ว่า

“ทุกคนที่คุณเจอชอบถามตลอดเลยว่าทำงานอะไร แต่งงานหรือยัง มีบ้านหรือเปล่า ทำอย่างกับว่าชีวิตเป็นรายการซื้อของอย่างนั้นแหละ แต่ไม่เคยมีใครถามหรอกว่า คุณมีความสุขหรือเปล่า”

เมื่อมีใครสักคนถามไถ่ว่าเราเหนื่อยไหม หรือบอกว่า ที่เราทำน่ะ ดีพอแล้ว เราจึงรู้สึกเปราะบางเหมือนแก้วจะแตก เพราะความเหนื่อยเป็นเรื่องต้องห้ามในสังคม Productivity จึงมีคอมเมนต์ของคนที่ได้ดูโฆษณา วันดีๆ กับกระดาษดีๆ ของ Double A ว่า

“พูดแบบไม่เวอร์นะ อะไรแบบนี้อะฮีลใจคนเราได้จริงๆ ตอนเด็กกว่านี้ไม่เคยอินเลย แต่พอโตมา ทำงานหนัก ไม่ค่อยได้เจอเพื่อนฝูงแบบสมัยเรียน ความรับผิดชอบที่มากขึ้น แค่มีคนส่งข้อความน่ารักๆ ให้มันทำให้วันๆ นั้นยิ้มได้ขึ้นมาเลย”

Photo: X@yoxrgravity

Dr. Robert Puff นักจิตวิทยาคลินิกและนักจัดพอดแคสต์ชาวอเมริกันพูดถึง Ripple Effect ปรากฏการณ์ระลอกคลื่นที่เกิดจากการแบ่งปันคำพูดดีๆ แก่กันว่า

ความรู้สึกคือพลังงาน เหมือนโยนหินลงในน้ำก็จะเกิดระลอกคลื่นแผ่ออกไปทั้งสระ เมื่อเราส่งความรู้สึกให้ใครก็จะเกิดระลอกคลื่นแผ่ออกไป ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกรัก ชอบ เมตตา เกลียด กลัว ฯลฯ

เราจึงควรระมัดระวังว่าความรู้สึกแบบไหนที่เราหยิบยื่นให้คนอื่น

เรามักจะคิดว่า การกระทำและคำพูดของเรามีผลเฉพาะกับคนที่เราสื่อสารด้วยเท่านั้น แต่ระลอกคลื่นของความรู้สึกแผ่ออกไปเป็นวงกว้างมากกว่าเราคิด

ยกตัวอย่างเมื่อเกิดเหตุกราดยิง มีผู้เสียชีวิตหลายราย ไม่เฉพาะครอบครัวของเหยื่อเท่านั้นที่โศกเศร้า แต่คนที่รับรู้ข่าวต่างแชร์ความรู้สึกเศร้าสลดไปกับครอบครัวเหยื่อด้วย

เช่นกันกับความรักและความเมตตา เวลาเราเห็นแม่ชีเทเรซ่าช่วยเหลือผู้ยากไร้ เราสัมผัสได้ถึงความรักและความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นในการกระทำนั้น

การแผ่ระลอกคลื่นของความรักและความเมตตาไม่เพียงส่งผลดีต่อคนอื่นเท่านั้น ตัวเราเองพลอยได้อานิสงก์ไปด้วย การแผ่ความรู้สึกดี ความเข้าอกเข้าใจผู้อื่นคือทักษะที่เราควรฝึกฝน

ในอาชีพนักจิตวิทยาที่ทำมากว่า 30 ปี ดร. โรเบิร์ต พัฟฟ์พบเจอกับตัวเองมานับครั้งไม่ถ้วนว่าหลายๆ คนที่คิดฆ่าตัวเอง แต่แล้วกลับเปลี่ยนใจ เป็นเพราะได้รับความเห็นอกเห็นใจจากผู้อื่น

เราไม่รู้หรอกว่าการกระทำและคำพูดของเราส่งผลกระทบต่อคนอื่นได้มากน้อยเพียงไร จึงควรเลือกว่าให้ดีว่าระลอกคลื่นแบบไหนที่เราจะแผ่ออกไป

แต่ถ้าทำได้ เราควรเลือกแผ่ระลอกคลื่นแห่งความเห็นอกเห็นใจมากกว่าความเกลียดชัง

Photo: X@nchdaq

“เป็นโฆษณาที่ made my day มากกกกกก วันไหนแค่เหนื่อยๆมา มีใครสักคนมาบอกว่าเราเก่งแล้วก็หายเหนื่อยแล้วอะ”  

เหมือนอย่างคอมเมนต์นี้ต่อโฆษณาวันดีๆ กับกระดาษดีๆ จาก Double A

แค่คอมเมนต์เดียวที่คนบอกว่ารู้สึกดีขึ้น ก็เป็นการทำโฆษณาที่ประสบความสำเร็จแล้ว

Words: Sritala Supapong

ข้อมูลจาก

you might like

คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว เปิดตัวนวัตกรรมสุดล้ำพลิกโฉมวงการแพทย์แผนจีน”กระจกตรวจโรคอัจฉริยะ AI” และ” หุ่นยนต์ เสี่ยวคัง AI”  ครั้งแรกในประเทศไทยพร้อมประกาศจัดงาน “ก้าวล้ำ คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว พัฒนาการที่ไม่หยุดนิ่ง” ครั้งที่ 2

Scroll to Top