ทีเอ็มบีธนชาต เชิญกูรูแนะเคล็ดลับวางแผนเพื่อการลดหย่อนภาษี

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี จับมือพันธมิตร Amundi Asset Management และ บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด จัดงานสัมมนา “วางแผนภาษี Unseen ไม่มีกั๊ก” เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน 2 เพจดัง “พรี่หนอม – ถนอม เกตุเอม” จากเพจ TaxBugnom และ “จักรกฤษณ์ กิจการรัฐบุตร” จากเพจ Money Buffalo พร้อมด้วย “บดินทร์ พุทธอินทร์” ผู้อำนวยการผ่ายกลยุทธ์การลงทุน บลจ.อีสท์สปริง (ประเทศไทย) และ “กัมปนาท โอมฤก” นักกลยุทธ์ด้านการลงทุน ทีทีบี มาร่วมกันเปิดทุกแง่มุมที่น่าสนใจ พร้อมเผยเคล็ดลับวางแผนภาษีให้เหมาะสม ด้วยการลงทุนเพื่อสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นในอนาคต  

นางสาวอรทัย สิงหอุดมชัย หัวหน้าผลิตภัณฑ์กองทุนรวม ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี เปิดเผยว่า ทีทีบี มีความมุ่งมั่นให้คนไทยมีความรู้เรื่องของการเงินและมีสุขภาพทางการเงินที่ดีขึ้น และปฏิเสธไม่ได้ว่าการวางแผนลดหย่อนภาษี จะสามารถช่วยให้มีเงินเก็บมากขึ้น หากนำเงินนั้นมาลงทุนในกองทุนรวมก็มีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนชนะเงินเฟ้อ และมีเงินเก็บซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตทางการเงินที่ดีในอนาคต ด้วยเหตุนี้ ธนาคารจึงได้ร่วมกับพันธมิตร Amundi Asset Management และ บลจ.อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จัดงานสัมมนา “วางแผนภาษี Unseen ไม่มีกั๊ก” ขึ้น โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญมาเปิดทุกแง่มุม พร้อมแนะเคล็ดลับในการวางแผนภาษีให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รับประโยชน์มากที่สุด โดยเฉพาะผู้ที่ยังไม่เคยเริ่มต้นวางแผนภาษีจะได้เริ่มต้นอย่างถูกต้อง ส่วนนักลงทุนก็สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการวางแผนการลงทุนกับตนเองได้ง่ายขึ้น  

นางสาวปนัดดา ตัณฑ์ชาญชีวินรองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายช่องทางการจัดจำหน่ายและธนบดีธนกิจ บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ปีนี้เรียกได้ว่าเป็นปีที่ไม่ง่ายเลย ดังนั้น การวางแผนการลงทุนจึงนับเป็นเรื่องสำคัญ แต่ที่สำคัญมากไปกว่านั้นคือ การวางแผนภาษี เพราะไม่ว่าเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร แต่ผู้มีรายได้ก็ต้องมีหน้าที่เสียภาษี โดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือน ซึ่งปัจจุบันมีเพียงไม่กี่ช่องทางเท่านั้นที่จะสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ไม่ว่าจะเป็น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุน SSF และ กองทุน RMF รวมไปถึงประกันชีวิต ซึ่งงานสัมมนาในครั้งนี้มีเป้าหมายให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาสามารถนำข้อมูลความรู้ที่ได้ไปปรับพอร์ตในเรื่องของการวางแผนภาษีได้อย่างเหมาะสม  

วางแผนภาษี Unseen …ทุกเม็ด ไม่มีกั๊ก 

นายถนอม เกตุเอม หรือ พรี่หนอม จากเพจ TaxBugnom กล่าวว่า ในปีนี้เป็นปีที่จะต้องวางแผนภาษีและบริหารจัดการเงินอย่างเหมาะสม ในความเป็นจริงแล้วการวางแผนการลดหย่อนภาษีควรเริ่มตั้งแต่ช่วงต้นปีจะดีกว่าช่วงปลายปี นอกจากนี้ กฎระเบียบใหม่ของสรรพากรที่ให้ทาง บลจ. ส่งข้อมูลตรงให้กับทางสรรพากรนั้น ยังคงต้องขอความยินยอมจากลูกค้าก่อน แต่เชื่อว่าในปีหน้าน่าจะเห็นข้อมูลส่วนนี้ในระบบ เช่นเดียวกันกับรูปแบบของเงินบริจาค และในระยะยาวจะไม่ต้องเก็บใบหลักฐานเนื่องจากข้อมูลได้ถูกส่งไปในระบบแล้ว สิ่งสำคัญ คือ การวางแผนและทำความเข้าใจทั้งเรื่องของภาษีและการบริหารพอร์ตการลงทุน เมื่อเลือกซื้อกองทุนใดก็ตามให้มองอีกมุมว่าซื้อไปแล้วได้อะไร เหมาะสมกับเราหรือไม่ ได้ผลตอบแทนที่ต้องการหรือไม่ เพราะควรได้มากกว่าการลดหย่อนภาษี เลือกวางแผนการลงทุนในสิ่งที่เหมาะสมกับเป้าหมายชีวิตของเรามากที่สุด ซึ่งอาจต้องพิจารณาปัจจัยแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นคนข้างหลัง หรือ คนที่เราต้องรับผิดชอบชีวิตในอนาคตด้วยเช่นเดียวกัน  

วางแผนภาษีด้วยกองทุน เริ่มต้นได้…ง่ายนิดเดียว  

นายจักรกฤษณ์ กิจการรัฐบุตร จากเพจ Money Buffalo กล่าวว่า การวางแผนในเรื่องของกองทุนมีข้อได้เปรียบอย่างไรเมื่อเทียบกับการลงทุนในรูปแบบอื่น โดยส่วนตัวแล้วมองว่ากองทุนมีประโยชน์ในแง่ของเงื่อนไขภาษีของกองทุน ซึ่งเป็นเงื่อนไขระยะยาว หากเรามีงบจำกัดและต้องเลือกว่าจะลดหย่อนภาษีด้วยรูปแบบใดนั้น ถ้ามองในแง่ผลตอบแทนอย่างเดียวกองทุนดูมีเสน่ห์ แต่ประกันชีวิตมีในเรื่องของความคุ้มครองที่กองทุนให้ไม่ได้ ดังนั้น หันกลับมามองเป้าหมายการเงินว่าต้องการสิ่งใด ถ้าอยากได้ในเรื่องของผลตอบแทน มองว่า กองทุนสามารถตอบโจทย์ได้ แต่ถ้ามองในเรื่องของผลตอบแทนและความคุ้มครองแล้ว ประกันชีวิตก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจเช่นเดียวกันและตอบโจทย์มากกว่า ส่วนวิธีการเลือกกองทุนนั้น ไม่มีกองทุนใดที่จะให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด แนะนำว่าให้กระจายการลงทุน และเอาผลค่าเฉลี่ยออกมาจะได้ค่าเฉลี่ยที่อยู่ตรงกลาง โดยอาจมองหากองทุนที่มีนโยบายที่ดีช่วยลดความเสี่ยงในเรื่องของการลงทุนได้ ซึ่งกองทุนที่ดีจะมีการลงทุนที่สม่ำเสมอและสามารถเอาชนะเกณฑ์มาตรฐานได้ ส่วนเป้าหมายก็นับว่าเป็นสิ่งสำคัญ หากมีความรู้ความเข้าใจการลงทุนในระยะยาวก็สามารถตอบโจทย์การลงทุนที่เหมาะกับตัวเองได้  

กองทุนเพื่อการลดหย่อนภาษี แบบลงทุนง่าย…สบายใจ 

นายกัมปนาท โอมฤก นักกลยุทธ์การลงทุน ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี  กล่าวว่า หากประเมินภาพรวมการลงทุนในปีนี้นับเป็นปีที่ปราบเซียน ปัญหาที่นักลงทุนมือใหม่เจอ คือ มีกองทุนให้เลือกหลากหลายในตลาด แต่ไม่ทราบว่าจะลงทุนแบบใด สิ่งสำคัญ คือ การทำ Asset Allocation เนื่องจาก เราไม่สามารถที่จะลงทุนในสินทรัพย์เดียวและสินทรัพย์นั้นจะดีที่สุดไปตลอด ทุกสินทรัพย์มีความผันผวน ซึ่งธนาคารมีกองทุน ttb smart port(TSP) ที่มาพร้อมกลยุทธ์ “คัด” คัดกองทุนทั่วโลกเข้ามาในพอร์ตให้เรา “จัด” จัดความเสี่ยงของแต่ละกองให้เหมาะกับความเสี่ยงของนักลงทุน “ปรับ” ปรับสัดส่วนการลงทุนกับกองทุนให้เข้ากับสภาวะตลาด ซึ่งเป็นผู้ช่วยให้สามารถบริหารจัดการเงินภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

นายบดินทร์ พุทธอินทร์ ผู้อำนวยการส่วนกลยุทธ์การลงทุน บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า สำหรับผู้ที่กังวลเรื่องความเสี่ยงในการลงทุน โดยเฉพาะผู้ที่สามารถรับความเสี่ยงได้อยากให้มองกองทุนหุ้นโลก ส่วนผู้ที่รับความเสี่ยงได้มากก็สามารถเลือกกองทุนตราสารหนี้โลก ซึ่งมีการกระจายความเสี่ยงได้ สิ่งสำคัญ คือ การจับจังหวะตลาด รวมถึงการจัดพอร์ต ซึ่งถือเป็นเข็มทิศของการลงทุน ไม่ว่าตลาดจะขึ้นหรือลงก็ตาม ให้คงสัดส่วนการลงทุนตรงนี้ไว้ ปัจจุบันตลาดเริ่มทรงตัวไม่ลงต่ำไปกว่าเดิม โดยในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา ตลาดปรับลงมา 33% และปัจจุบันอยู่ที่ 26% – 27% สุดท้ายสิ่งที่อยากฝาก ไม่ว่าจะมองในเรื่องของการวางแผนเพื่อการลดหย่อนภาษีหรือในเรื่องของการลงทุน การวางแผนการจัดพอร์ตการลงทุนเป็นสิ่งสำคัญมาก 

สำหรับนักลงทุนมือใหม่ขอแนะนำ ทีทีบี สมาร์ทพอร์ต เพื่อการลดหย่อนภาษี (SSF) จะเข้ามาเป็นผู้ช่วยคนสำคัญ โดยประกอบด้วย 5 โมเดลให้เลือก ได้แก่ ผู้ที่รับความเสี่ยงได้ต่ำ (tsp1-preserver-SSF ลงทุนตราสารหนี้ 100%) ผู้ที่รับความเสี่ยงได้เพิ่มขึ้น (tsp2-nurturer-SSF ลงทุนตราสารหนี้ประมาณ 80% หุ้น 20%) ผู้ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง (tsp3-balancer-SSF ลงทุนตราสารหนี้ประมาณ 50% มีหุ้น 50%) และผู้ที่รับความเสี่ยงได้สูง (tsp4-explorer-SSF ลงทุนตราสารหนี้ประมาณ 30% หุ้น 70%) และผู้รับความเสี่ยงได้สูงมาก (tsp5-gogetter-SSF ลงทุนหุ้นประมาณ 100%)  

เนื่องด้วยปีภาษี 2565 กรมสรรพากรกำหนดให้ผู้ลงทุนในกองทุน RMF และ SSF ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 ที่ต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีกองทุน SSF และ RMF ต้องแจ้งความประสงค์ขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษีให้ บลจ. ที่ซื้อหน่วยลงทุนทราบ โดยหากไม่แจ้งความประสงค์ขอใช้สิทธิลดหย่อน ผู้ลงทุนจะเสียสิทธิในการลดหย่อนภาษี SSF / RMF ในปี 2565 โดยเมื่อ บลจ. ได้รับแจ้งจากผู้ลงทุนในเรื่องดังกล่าวแล้ว บลจ. จะนำส่งข้อมูลให้แก่กรมสรรพากรต่อไป สำหรับผู้ลงทุนที่ซื้อกองทุนรวม SSF/RMF ผ่านธนาคาร สามารถแจ้งความประสงค์ขอใช้สิทธิลดหย่อนผ่านทางช่องทางออนไลน์ โดยสามารถลงทะเบียนภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2565 สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง https://www.ttbbank.com/mutual-funds/tax-amc 

ชมงานสัมมนา “วางแผนภาษี Unseen ไม่มีกั๊ก” ย้อนหลังได้ทาง https://www.ttbbank.com/taxunseen 

หรือสนใจเริ่มลงทุน สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ทีทีบี ทุกสาขา หรือ ttb investment line โทร.1428 กด #4 ทุกวันจันทร์ – วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 9:00 – 17:30 น. (ยกเว้นวันหยุดธนาคาร) 

you might like

พฤกษา–แคปปิตอลแลนด์–แอลลี่ โลจิสติกส์ ระดมทุนเพิ่ม 3,250 ล้าน ดึง มิตซุย โอเอสเค ไลน์ส เสริมแกร่งกองทุน ดัน “โอเมก้า บางนา โลจิสติกส์ แคมปัส” ก้าวสู่ฮับโลจิสติกส์ครบวงจรในอาเซียน

Scroll to Top