อพท.วางเส้นทางท่องเที่ยวในชุมชนโคราช หวังดันขึ้นทะเบียนมรดกโลก

อพท.ร่วมพัฒนาโคราชจีโอพาร์คขึ้นทะเบียน “ยูเนสโก”สร้างกิจกรรม-วางเส้นทางท่องเที่ยวโดยชุมชนเชื่อมมรดกโลก

อพท. ผนึก 7องค์กร ขับเคลื่อนแผนพัฒนาโคราช ระยะ 5ปี  แหล่งโบราณคดีธณีธรณีวิทยาดึงชุมชนร่วมพัฒนากิจกรรมวางเส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยงเสริมศักยภาพความยั่งยืนเข้าเกณฑ์ยูเนสโก ตามยุทธศาสตร์จังหวัด สร้างแลนด์มาร์คดินแดนแห่ง 3 มงกุฎมรดกโลก บูมแหล่งท่องเที่ยว กระจายรายได้สู่ชุมชนแบบยั่งยืน         

นาวาอากาศเอกอธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการองค์การบริหาร การพัฒนา พื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน(องค์การมหาชน) หรือ อพท. เปิดเผยว่า ได้ร่วมลงนามความร่วมมือ (MOU)กับอีก7 หน่วยงาน  ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุลมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และสมาคมโคราชจีโอพาร์คและฟอสซิล เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานของ อุทยานธรณีโคราชหรือโคราชจีโอพาร์ค สู่การเป็นอุทยานธรณีโลก ตามเกณฑ์ขององค์การเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก เพื่อผลักดันให้จังหวัดนครราชสีมา บรรลุเป้าหมายการเป็นดินแดนแห่ง3 มงกุฎของยูเนสโก หรือ “TheUNESCO Triple Crown” โดยจะดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ พัฒนาจังหวัดนครราชสีมาที่จะทำให้ โคราชจีโอพาร์ค ซึ่งเป็นแหล่ง โบราณคดีทางธรณีวิทยาระดับโลก     

“ที่ผ่านมายูเนสโกได้ให้การรับรองแล้ว  2 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่มรดกโลก กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ และพื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช อำเภอวังน้ำเขียว และที่จะผลักดัน ต่อไปก็คือ อุทยานธรณี โคราช ตามการดำเนินงาน 3 โปรแกรม ของยูเนสโกเพื่อก้าวสู่ดินแดนแห่ง 3 มงกุฎของยูเนสโก  จึงมอบให้สำนักงานพื้นที่พิเศษ 2 หรือ อพท. 2ซึ่งดูแลและพัฒนาพื้นที่อารยธรรมอีสานใต้กับ จังหวัดนครราชสีมา อพท. ร่วมเป็นภาคีเครือข่ายแบบบูรณาการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวและเส้นทางการท่องเที่ยวเพื่อขับเคลื่อนอุทยานธรณีโคราชไปสู่การสร้างคุณค่าระดับโลก ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่ชุมชนมีส่วนร่วมเชื่อมโยง กับแหล่งท่องเที่ยว หลักแบบยั่งยืนที่เป็นศูนย์กลางที่จะสามารถรองรับนักท่องเที่ยวทุกระดับในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยและนานาชาติได้อย่างเป็นรูปธรรม”ผู้อำนวยการ อพท. กล่าว         

สำหรับแผนการดำเนินงานในปี 2564อพท.2จะเข้าไปต่อยอด การพัฒนา

แหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน ในพื้นที่ชุมชนท่าช้างอำเภอเฉลิมพระเกียรติ และชุมชนมะค่า อำเภอเมืองนครราชสีมา โดยจัดกิจกรรมการ ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และกิจกรรมด้านต่างๆให้เป็นโปรแกรมการท่องเที่ยวที่สามารถเชื่อมโยงระหว่างชุมชนท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยวหลักนอกจากนั้นยังจัดทำป้ายสื่อความหมาย จุดถ่ายภาพในแหล่งท่องเที่ยว ของชุมชน การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของชุมชน โดยยังคง รักษาอัตลักษณ์และมรดกทางภูมิปัญญาวัฒนธรรมที่สามารถร้อยเรียงเป็นจุดขายที่สำคัญของชุมชน ในปี 2563อพท.  ได้นำองค์ ความรู้ด้าน การจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยใช้การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นเครื่องมือสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนที่อยู่ในเส้นทางโคราชจีโอพาร์ค จัดทำแผนการบริหารจัดการและการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์  โดยมีการประสานความร่วมมือ กับ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาหน่วยงานในพื้นที่และอุทยานธรณีโคราชเพื่อให้การพัฒนาเป็นไปในแนวทางที่สอดคล้องกับแนวทางโคราชจีโอพาร์คกรอบความร่วมมือครั้งนี้ จะดำเนินการในระยะ 5ปี โดยมีขอบเขตใน 5ด้านที่สำคัญ คือ 1.ร่วมกันอนุรักษ์ศึกษา สำรวจแหล่ง ทรัพยากร ธรณีธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม  2.ร่วมกันส่งเสริมสนับสนุนการจัดทำแผนการพัฒนาและการดำเนินการให้อุทยานธรณีโคราชเป็นอุทยานธรณีโลกและเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สมบูรณ์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน และหน่วยงานในท้องถิ่น 3.ร่วมกันจัดกิจกรรมและการเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนักวิจัย นักวิชาการ นักศึกษา นักเรียนประชาชนทั่วไป รวมถึงนักท่องเที่ยว ที่เข้ามาศึกษา ธรรมชาติภายในอุทยานธรณีโคราช 4.ร่วมกันจัดกิจกรรมพัฒนาเศรษฐกิจด้านการตลาด การพัฒนา ผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยี รวมถึงการบริหารเส้นทาง การท่องเที่ยว ที่จะเชื่อม โยงกับชุมชน และจัดทำข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพื่อการ ประชาสัมพันธ์ ให้เกิด การรับรู้และเข้าถึงพื้นที่อุทยานธรณีดังกล่าว ในวงกว้างด้วย เช่นกัน5.ร่วมกันพัฒนาการท่องเที่ยวในอุทยานธรณีโคราชให้เป็นการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวโดยชุมชน       

สำหรับความโดดเด่นของจีโอพาร์ค โคราช คือ เป็นแหล่งโบราณคดี ทางธรณีวิทยา เพราะค้นพบแหล่งฟอสซิลขนาดใหญ่ไม่ว่าช้างดึกดำบรรพ์ หนูโบราณ จระเข้โบราณ ไดโนเสาร์และไม้กลายเป็นหิน ดังนั้นการ ผลักดัน ตามยุทธศาสตร์จังหวัดครั้งนี้ มีเป้าหมายสำคัญ คือการนำ พื้นที่ดังกล่าว ให้สามารถขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกอีกแห่งหนึ่งของยูเนสโกผลสำเร็จของ การดำเนินการจะนำไปสู่การสร้าง การรับรู้และ ยกระดับ ความ พร้อมของจังหวัดนครราชสีมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับนานาชาติต่อไป

#อพท #ชุมชนโคราช

you might like

Scroll to Top