นับว่าเป็นความยิ่งใหญ่ของ “เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2567” หรือ “Bangkok Design Week 2024” (BKKDW2024) ซึ่งปีนี้ไม่ได้มีเพียงแต่กลุ่
เปิด ‘One Bangkok Pavilion’ จุดประกายชีวิตให้ใกล้ชิดศิลปะ
‘One Bangkok’ ยังคงตอกย้ำความมุ่งมั่นของโครงการฯ ในการนำศิลปะและวัฒนธรรมมาผสานเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน ปีนี้มาพร้อมผลงาน ‘One Bangkok Pavilion’ ภายใต้แนวคิด ‘Inspiring Urban Canvas’ โดยร่วมมือกับ Supermachine Studio ดีไซน์สตูดิโอชื่อดังที่ได้รับรางวัลระดับโลก พาวิลเลียนสุดฮิปนี้จัดแสดง ณ ลานหน้าไปรษณีย์กลาง ย่านเจริญกรุง
คุณจรินทร์ทิพย์ ชูหมื่นไวย หัวหน้าภัณฑารักษ์และผู้บริหารฝ่ายศิลปะและวัฒนธรรม และรองผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายการสื่อสารและประชาสัมพันธ์แบรนด์เชิงกลยุทธ์ โครงการวัน แบงค็อก บอกเล่าภาพรวมของงานในปีนี้ ว่าสำหรับ ‘One Bangkok Pavilion’ เป็นการออกแบบพื้นที่ให้เป็นสถานที่ที่ผู้คนสามารถเข้ามาเพลิดเพลินได้ตลอดเวลา โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากของเล่นตัวต่อหรือบล็อกไม้ (Wooden Block) โดยไอเท็มรูปทรงเรขาคณิตหลากหลายรูปแบบถูกนำมาเรียงต่อกันจนกลายเป็นรูปปราสาท เสมือนกับการสร้างเมืองที่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกคน เพียงช่วยกันคนละไม้คนละมือ นำความฝันและแรงบันดาลใจของตัวเองมาเรียงร้อยกัน นั่นก็ช่วยรังสรรค์พาวิลเลียนนี้ให้สมบูรณ์ได้ ‘One Bangkok Pavilion’ จึงสะท้อนถึง ‘ความร่วมมือของผู้คน’ (Collaboration) ที่สามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองได้ อีกทั้งยังได้ร่วมกับ Kids Bloom และ Yimsamer มัลติมีเดียเอเจนซีที่เชี่ยวชาญด้านงานอิมเมอร์ซีฟ (Immersive) จุดประกายความคิดสร้างสรรค์ผ่านเกมกระโดดแบบร่วมสมัยบนจออินเทอร์แอ็กทีฟ ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากเกม ‘ตั้งเต’ อีกด้วย
สัมผัส ‘ความน่าอยู่’ ผ่านแสงสีตระการตา โดย LPN
เพราะย่านเมืองเก่าเต็มไปด้วยสินทรัพย์ ชุมชน ศิลปะและวัฒนธรรม คุณอภิชาติ เกษมกุลศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ LPN ได้เล็งเห็นความสำคัญในจุดนี้ จึงส่งเสริมให้เกิดความ ‘น่าอยู่’ ภายใต้คอนเซ็ปต์ ‘Livable Living Experience’ เพื่อให้เห็นความเป็นไปได้ใหม่ในการใช้ความคิดสร้างสรรค์ที่ผสานเทคโนโลยี เพื่อนำมาพัฒนาพื้นที่สาธารณะให้เป็นเมือง ‘น่าอยู่’ อย่างสร้างสรรค์ ผ่านโปรเจ็กต์ ‘ExperienceScape’ ด้วยการทำ Projection Mapping บนอาคารทางประวัติศาสตร์ต่าง ๆ ในย่านพระนคร เพื่อสื่อสารให้บุคคลทั่วไปและคนรุ่นใหม่เข้าใจและเข้าถึงได้ง่าย ตลอดจนยังให้ความสำคัญเรื่องการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้ชุมชนโดยรอบอีกด้วย
งานนี้ LPN ได้ร่วมกับศูนย์มิตรเมือง (Urban Ally) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่เป็นผู้ขับเคลื่อนของย่านพระนคร ภายใต้ชื่อโปรแกรม ‘มิตรบำรุงเมือง LIVE’ ด้วยแนวคิด ‘Everyday-life Festival’ เพื่อนำเสนอความคิดสร้างสรรค์บนพื้นที่จริงของย่านเมืองเก่า ให้เป็นพื้นที่ทางสังคมสำหรับทุกคน ให้ได้รับประสบการณ์ในการอยู่อาศัยที่ดีขึ้น ปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ใหม่ของย่านผ่านเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ LPN มุ่งหวังว่าจะสามารถจุดประกายการพัฒนาพื้นที่เมืองและคุณภาพความเป็นอยู่ของผู้คนในย่านเมืองเก่าพระนคร ที่จะต่อยอดสู่การพัฒนาย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในย่านพระนครต่อไป
สำหรับโปรเจ็กต์ ‘ExperienceScape’ จัดใน 4 พื้นที่ ได้แก่ ประปาแม้นศรี ซึ่งเป็นจุดจัดงานหลัก (Center Hub), สวนรมณีนาถ, ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) และป้อมมหากาฬ โดยจะถ่ายทอดเรื่องราว อัตลักษณ์ และนำไปสู่การตีความใหม่ เพื่อให้พื้นที่ต่าง ๆ ของย่านพระนครกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง โดยเริ่มตั้งแต่เวลา 18.00 – 21.00 น. พร้อมกิจกรรมไฮไลต์ที่น่าสนใจ ตลอด 9 วันเต็ม
จับมือพันธมิตรนักสร้างสรรค์ในย่าน สร้างเมืองน่าอยู่ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิต โดย SC ASSET
คุณโฉมชฎา กุลดิลก หัวหน้าสายงานกลยุทธ์แบรนด์และสื่อสารองค์กร SC ASSET ได้บอกเล่าถึงเบื้องหลังแนวคิดการจัดเทศกาลในครั้งนี้ว่า SC ASSET เล็งเห็นว่าเราควรสร้างความสัมพันธ์ร่วมกับชุมชนโดยรอบ ในพื้นที่ที่บริษัทของเราเข้าไปพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และคิดว่าเทศกาลนี้ควรเป็นของคนทั้งกรุงเทพฯ ไม่ควรจำกัดขอบเขตอยู่แค่รอบย่านเจริญกรุง ปีนี้เราเลยลองย้ายมาทำโปรเจกต์นอกโซนที่เป็นพื้นที่หลัก จึงเปลี่ยนพื้นที่มาที่ย่าน ‘เกษตรฯ – บางบัว’ โดยมีการทำงานร่วมกันของนักสร้างสรรค์ในย่าน ร่วมกับมหาวิทยาลัย นักวิชาการ นักออกแบบ ศิลปิน และชุมชน อีกทั้งมีหลายกิจกรรมเป็นงานทดลองจากนักศึกษาด้วย เพราะเราอยากเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่มีพื้นที่แสดงออกถึงศักยภาพและอยากให้คนมาเห็นงานของพวกเขาเยอะๆ ซึ่งย่านนี้มีกิจกรรมที่หลากหลาย เปิดให้คนทั่วไปได้มาทำความรู้จักอีกแง่มุมหนึ่งของเมืองใหญ่ ที่มีเรื่องราวดี ๆ ซุกซ่อนอยู่มากมาย
สำหรับย่าน ‘เกษตรฯ – บางบัว’ มีกิจกรรมที่ขับเคลื่อนเมืองอยู่3 ส่วน หลัก ๆ ได้แก่
1.กิจกรรมสร้างความบันเทิงผ่อนคลาย เช่น การแสดงดนตรี การฉายภาพยนตร์ ซึ่งเป็นทางเลือกในการใช้เวลาว่างกับเพื่อนฝูง มีกิจกรรมที่สร้างบทสนทนาและปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มนักศึกษา ผ่านพาวิลเลียนที่เปรียบเสมือนเป็นโอเอซิสให้มาพักผ่อน โดยมีการเปิดพื้นที่ Sale Gallery โครงการ COBE Kaset-Sripatum โดย SC ASSET ให้นักศึกษาได้มาจัดแสดงผลงาน นับเป็นพื้นที่ที่เชื่อมต่อความคิดสร้างสรรค์และให้โอกาสคนรุ่นใหม่ได้แสดงศักยภาพ ได้แก่ ‘สวนเสมือน แห่งบางบัว’ โดยนำเอา Bamboo Pavilion หรือ พาวิลเลียนไม้ไผ่รักษ์โลก มาทดลองออกแบบให้ตอบโจทย์การใช้งานที่หลากหลาย ทั้งพื้นที่เล่น นั่งพักผ่อน และชมคอนเสิร์ตได้แบบรอบทิศทาง นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่สังสรรค์ของทุกคนยามค่ำคืน
2.การนำงานออกแบบของ City Lab เกี่ยวกับความปลอดภัยของคนเดินเท้าบนท้องถนนมาขยายผล
กับโปรเจ็กต์ต้นแบบ ‘LiVELY STREET FURNITURE 01’ การจัดการพื้นที่ทางเท้าสาธารณะและการให้บริการรถสาธารณะ โดยทำจุดรอวินมอเตอร์ไซค์ที่อำนวยความสะดวกกับผู้ใช้งานมากขึ้น มีมินิบัสที่รับส่งตามจุดต่าง ๆ เพื่อเป็นการเชื่อมต่อกับเมือง
3.การเชิญชวนนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยรอบย่านมาร่วมกันสร้างสรรค์โปรเจ็กต์ใหม่ ๆ
เพื่อเปิดโอกาสให้พวกเขาได้มีพื้นที่แสดงออกและมีส่วนร่วมกับเทศกาลฯ ผลงานของนักศึกษามีหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่โชว์เคสงานดีไซน์ ดนตรี ภาพยนตร์ ไปจนถึงการเสนอโมเดลธุรกิจ อย่างงาน ‘AR สตรีตอาร์ต บางบัว’ เป็นงาน Graffiti AR ที่คณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม ร่วมกับศิลปินที่มีชื่อเสียงของไทย โดยจัดแสดงทั้งภาพจริงและภาพเสมือนของตัวการ์ตูนต่าง ๆ ทั้งยังนำเสนอกิมมิกด้วยการนำเทคโนโลยี AR มาผสมผสาน เพียงสแกน QR Code ที่ติดอยู่ข้าง ๆ ผลงาน แล้วส่องไปที่งานกราฟฟิตี้นั้น ๆ ก็จะพบกับงาน AR น่ารัก ๆ ที่โผล่ออกมาจากกำแพงราวกับมีชีวิต
ขุมพลังเศรษฐกิจสร้างสรรค์สู่ความยั่งยืน กับ สยามพิวรรธน์
คุณชฎาทิพ จูตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด นำชมนิทรรศการ ‘CREATIVE POWERHOUSE’ โดย SIAM PIWAT ที่จัดแสดงบริเวณโถงไปรษณีย์ อาคารไปรษณีย์กลาง ย่านเจริญกรุง นิทรรศการนี้เป็นการร่วมงานของสยามพิวรรธน์ ร่วมกับศิลปิน นักออกแบบ นักสร้างสรรค์หลากหลายสาขาที่่เนรมิตผลงานเพื่อส่งต่อแรงบันดาลใจให้กับผู้คน โดยนำเสนอหัวใจของการทำธุรกิจผ่านทรงกลมสีสันแบบ Experimental Design ให้ผู้ชมนิทรรศการได้ทดลองตั้งค่าไฟทรงกลมด้วยตัวเอง และกระจกเพื่อสร้างมิติ สื่อถึงขุมพลังความคิดสร้างสรรค์ที่ต่อยอดไปได้อย่างไม่สิ้นสุด สะท้อนภาพของการเป็นแพลตฟอร์มที่ร่วมสร้างสรรค์ให้กับผู้คนและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
การออกแบบนิทรรศการนี้ยังคำนึงถึงการนำวัสดุกลับมาใช้ได้ใหม่ เช่น อะคริลิกที่นำมาครอบโคมไฟนำไปใช้เป็นของตกแต่งในร้านค้าแบรนด์รักษ์โลก การใช้หลอดไฟแบบประหยัดพลังงาน รวมถึงการถ่ายทอดเรื่องราวการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อให้ทุกจุดนำเสนอความคิดสร้างสรรค์ สร้างการเติบโตร่วมกันให้กับผู้คน ชุมชน สังคม เมือง และโลกอย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ ยังมีนิทรรศการและกิจกรรมอื่น ๆ ในพื้นที่ศูนย์การค้าของกลุ่มสยามพิวรรธน์ ทั้งสยามเซ็นเตอร์ และสยามดิฟคัฟเวอรี่ ย่านสยาม และไอคอนสยาม ย่านคลองสาน ที่ทุกคนจะได้สัมผัสไอเดียสร้างสรรค์ที่ช่วยขับเคลื่อนเมืองให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น นับเป็นการตอกย้ำให้เห็นคุณค่าของแพลตฟอร์มแห่งโอกาสสำหรับศิลปินนักสร้างสรรค์ (Well-growing Platform) และการดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืนของสยามพิวรรธน์ได้อย่างชัดเจน
เปิดบ้าน Hatari กับงาน ‘DESIGNING THE WIND’ โดย Hatari
เป็นที่รู้กันว่า พัดลมฮาตาริ ให้ลมเย็น ๆ กับคนไทยมานานกว่า 30 ปี แต่เมื่อสายลมมีการเปลี่ยนแปลง แบรนด์จึงต้องมีการปรับตัว ในวันที่ดีไซน์เข้ามามีผลต่อคนยุคใหม่ ฮาตาริจึงได้ร่วมมือกับ Habits Design Studio สตูดิโอออกแบบที่เชี่ยวชาญด้านเครื่องใช้ไฟฟ้าจากประเทศอิตาลี ทำให้ฮาตาริพลิกโฉมไปเป็น ‘นักสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์’ ที่สรรสร้างพัดลมในรูปแบบที่แตกต่าง และทั้งสองยังได้ร่วมงานกันจัดแสดงผลงานผ่านงาน ‘DESIGNING THE WIND’ ใน Bangkok Design Week 2024 ซึ่งจัดแสดงที่บ้านตรอกถั่วงอก ย่านเยาวราช
นิทรรศการนี้พิสูจน์ให้เห็นว่าศิลปะแห่งการออกแบบจากประสบการณ์การใช้ชีวิตร่วมสมัย สามารถผสานดีไซน์เข้ากับฟังก์ชันการใช้งานได้อย่างลงตัว นอกจากผู้ชมจะได้เห็นดีไซน์ใหม่ ๆ แล้ว ยังได้รับรู้เรื่องราวจากอดีตจนถึงปัจจุบันของฮาตาริ แบรนด์พัดลมอันเป็นตำนานผ่านโซนต่าง ๆ ตั้งแต่ WIND EMOTION (บริเวณชั้น 1) ที่เปิดให้สัมผัสและรู้จักศิลปะในแบบฉบับฮาตาริ ที่สร้างสรรค์ร่วมกับ Habits Design Studio ต่อมากับ TECHNOLOGICAL HEART (บริเวณชั้น 2) ที่เล่าถึงกระบวนการผลิตพัดลมฮาตาริ พร้อมชิ้นส่วนต่าง ๆ ในพัดลม ถัดไปเป็น PERFORMING WIND (บริเวณชั้น 3) ซึ่งมี Interactive Art จากพัดลมที่ถูกติดตั้งเป็นวงกลม เปรียบเสมือนโคลอสเซียม (Colosseum) สนามกีฬากลางแจ้งโบราณขนาดใหญ่เปี่ยมมนต์ขลังในกรุงโรมของอิตาลี และเปิดพัดลมทิ้งไว้เพื่อสร้างผลงานที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวและไม่เหมือนใคร และจุดสุดท้ายคือ DESIGN FOR MODERN LIVING (บริเวณชั้น 4) ในส่วนนี้ ผู้ชมจะได้รับชมคอลเล็กชันต่าง ๆ ไปพร้อมกับการเข้าใจวิธีคิด และการออกแบบพัดลมในคอลเล็กชันต่าง ๆ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาของฮาตาริ
ใครแพลนไปจุดไหน เข้าถึงทุกโปรแกรมได้สะดวกและสนุกยิ่งขึ้นไปกับ happining.city แพลตฟอร์มแผนที่แบบอินเทอร์แอ็กทีฟได้ที่ https://www.bangkokdesignweek.com/…/guide/venues-bkkdw…
สามารถติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ Website: www.bangkokdesignweek.com, Facebook/Instagram: bangkokdesignweek, Twitter: @BKKDesignWeek, Line: @bangkokdesignweek #BKKDW2024 #BangkokDesignWeek #LivableScape