กทปส.พัฒนาต่อยอดนวัตกรรมเบรคเกอร์ 4.0 พร้อมรัฐ เอกชนร่วมขอทุนเพื่อการพัฒนาและวิจัย

กทปส. ให้ทุนสนับสนุนโครงการบ้านไร้เบรกเกอร์ 4.0 กับการปฏิวัติอุตสาหกรรมไฟฟ้าและการป้องกันภัย ตามวัตถุประสงค์มาตตรา 52 (2) โดยได้ดำเนินการพัฒนานวัตกรรมด้วยระบบเทคโนโลยี Home@Cloud เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนากิจการโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องโดยอาศัยตู้รวมไฟฟ้าเป็น GATEWAY เปลี่ยนระบบป้องกันไฟฟ้าแบบเก่าเป็นเทคโนโลยีระบบไฟฟ้าดิจิทัลเพื่อป้องกันภัยจากไฟฟ้า และได้มีการติดตั้งใช้งานจริงของระบบเบรกเกอร์ 4.0 ให้กับองค์กรสาธารณะ รวมถึงในองค์กรธุรกิจขนาดเล็ก กลางและใหญ่ รวมกว่า 50 แห่ง โดยในวันนี้ได้เข้ามาเยี่ยมชมการติดตั้งและระบบ ณ บริษัท อินเตอร์เน็ตมาร์เก็ตติ้ง จำกัด (พันทิปดอทคอม) กรุงเทพฯ และ บริษัท สิงโตพลาสติก จำกัด โรงงานพลาสติก จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งรูปแบบการใช้งานจะแตกต่างกันทำให้เห็นความสามารถของการจัดการระบบที่มีประสิทธิภาพ

นายชาญวุฒิ อำนวยสิน ผู้อำนวยการสำนักกองทุน กทปส. เปิดเผยว่า ทิศทางการสนับสนุนการพัฒนาวิจัย ยังคงมุ่งมั่นเพื่อประโยชน์สาธารณะและหวังให้ประชาชนได้รับบริการด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม อย่างครอบคลุม ผลักดันให้เกิดการวิจัยและพัฒนา การเพิ่มความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อทุกมิติ และส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากร การคุ้มครองผู้บริโภคสอดคล้องตามนโยบายของรัฐ เพื่อการขับเคลื่อนและพัฒนาศักยภาพงานวิจัยสู่การใช้งานจริง โดย กองทุนฯ ได้ประกาศใช้แผนปฏิบัติการกองทุนระยะ 4 ปี พ.ศ. 2563-2566 เช่น แผนเอไอแห่งชาติ รวมถึงนโยบายแห่งรัฐที่มีการกำหนดขึ้นใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน

ล่าสุด  กทปส. ให้ทุนสนับสนุนโครงการบ้านไร้เบรกเกอร์ 4.0 กับการปฏิวัติอุตสาหกรรมการใช้ไฟฟ้าและการป้องกันภัย โดยมีตู้รวมไฟฟ้าเป็นหัวใจสำคัญของระบบ เพื่อสร้างความมั่นใจในการป้องกันความปลอดภัยจากการใช้ไฟฟ้าทุกชนิด และทราบถึงสาเหตุของปัญหาไฟฟ้าขัดข้องที่เกิดขึ้น รวมทั้งแจ้งเตือนความผิดปกติของปริมาณการใช้ไฟฟ้า เพื่อช่วยในการประหยัด  โดยได้ดำเนินการพัฒนานวัตกรรมด้วยระบบเทคโนโลยี HoME@Cloud  ซึ่งเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการต่อยอดนวัตกรรมเบรคเกอร์ 4.0 ของนักวิศวกรไทย เพื่อปฏิวัติอุตสาหกรรมไฟฟ้ายุคดิจิทัล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนากิจการโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสิ่งสำคัญคือการจัดการองค์รวมของระบบ IoT โดยอาศัยตู้รวมไฟฟ้าเป็น GATEWAY เปลี่ยนระบบป้องกันไฟฟ้าแบบเก่าเป็นเทคโนโลยีระบบไฟฟ้าดิจิทัลเพื่อการป้องกันภัยจากไฟฟ้า และได้มีการติดตั้งใช้งานจริงของระบบเบรกเกอร์ 4.0 ให้กับองค์กรสาธารณะของผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้เยาว์และผู้ด้อยโอกาส  นอกจากนี้ยังติดตั้งและใช้งานในองค์กรธุรกิจขนาดเล็ก กลางและใหญ่ รวมกว่า 50 แห่ง  โดยในวันนี้ได้เข้ามาเยี่ยมชมและติดตามการดำเนินการติดตั้งและใช้ระบบ ณ บริษัท อินเตอร์เน็ตมาร์เก็ตติ้ง จำกัด (พันทิปดอทคอม) กรุงเทพฯ และบริษัท สิงโตพลาสติก จำกัด โรงงานพลาสติก จังหวัดกาญจนบุรี  ทั้ง 2 แห่งซึ่งรูปแบบารใช้งานจะแตกต่างกันทำให้เห็นความสามารถของการบริหารจัดการระบบที่มีประสิทธิภาพที่รองรับการใช้งานได้ทั้งองค์กรขนาดเล็กจนถึงใหญ่

 ทั้งนี้กองทุนฯ ได้มีการจัดสรรทุน ดังนี้ ทุนประเภทที่ 1  ที่มีกรอบการจัดสรรเงินทุนไว้ที่ 400  ล้านบาท และเมื่อปิดรับข้อเสนอไปแล้วมีผู้สนใจยื่นข้อเสนอโครงการรวม 113 โครงการ รวมวงเงินขอรับการสนับสนุนทั้งสิ้น 1,567,124,612 บาท ซึ่งถือว่าผลตอบรับการขอทุนเป็นตามเป้าหมาย นอกจากนี้ยังมีการจัดสรรทุนโดยทาง กทปส. ได้เปิดให้ทุนประเภทที่ 2 ซึ่งเป็นกรอบการให้ทุนเชิงยุทธศาสตร์ในปี 2564 กำหนดไว้ที่ 670 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น ภารกิจด้านกิจการโทรคมนาคม จำนวน 200 ล้านบาท ภารกิจด้านกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ จำนวน 200 ล้านบาท ภารกิจมุ่งเป้าของกองทุนวิจัยและพัฒนา จำนวน 200 ล้านบาท ภารกิจด้านคลื่นความถี่และดาวเทียม จำนวน 70 ล้านบาท

สำหรับการจัดสรรทุนภายใต้ทุนประเภทที่ 2 ยังมีทุนอีก 2 รูปแบบ ได้แก่  1.ทุนต่อเนื่อง ซึ่งทาง กทปส. จะพิจารณาให้สำหรับผู้ที่เคยรับทุนส่งเสริมและสนับสนุนและต้องการต่อยอดงานวิจัย เพื่อให้ขยายผลในเชิงพาณิชย์ โดยทาง กทปส. จะให้ทุนต่อเนื่องเฉพาะวัตถุประสงค์ตามมาตราวงเล็บสอง ด้านการวิจัยและพัฒนาเท่านั้น ซึ่งปีนี้มีการกำหนดกรอบวงเงินไว้ที่ 30 ล้านบาท  2 ทุนตามนโยบายรัฐ ซึ่งทาง กทปส. เปิดโอกาสให้ส่วนราชการ ยื่นคำขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนโดยตรง และในปีนี้เอง ปี 2564 กทปส. ได้มีการเปลี่ยนเกณฑ์ในการส่งเสริมและสนับสนุนสำหรับทุนประเภทนี้แตกต่างไปจากเดิม กล่าวคือ ในปีที่ผ่านมาเราจะให้ทุนโดยตรงไปยังส่วนราชการเพื่อดำเนินโครงการเอง แต่เกณฑ์ใหม่ทาง กทปส. จะให้ส่วนราชการเสนอโครงการและจะมีการคัดเลือกโครงการที่ผ่านการพิจารณาเพื่อประกาศขอบเขตงานโครงการ และคัดเลือกผู้มีความเหมาะสมเพื่อดำเนินโครงการดังกล่าวให้แก่ส่วนราชการ

“ขอเชิญชวนให้องค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคการศึกษาเข้ามาขอทุนให้มากขึ้นที่ผ่านมา  โดยสามารถติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวผ่านทาง https://btfp.nbtc.go.th และ www.facebook.com/BTFPNEWS ซึ่งภายในเว็บไซต์จะมีข้อมูลตั้งแต่การยื่นขอทุน หลักเกณฑ์การขอทุน คู่มือและการกรอกข้อมูลในการขอทุน รวมทั้งกฎหมายและข้อบังคับโดยท่านสามารถเข้าไปศึกษาข้อมูลได้ ทั้งนี้ผมอยากให้ กทปส. เราได้ช่วยประเทศไทยในการสนับสนุนทุนโดยฉพาะด้านการพัฒนาและวิจัยสำหรับประเทศ” นายชาญวุฒิ อำนวยสิน กล่าวทิ้งท้าย : ขอบคุณข่าวจาก Smart  Live

you might like

โออิชิ จัดเต็มตอกย้ำแชมป์ชาพร้อมดื่ม-ตัวจริงนวัตกรรมชาเขียว เขย่าตลาด 17,848 ล้านบาทส่ง “โออิชิ กรีนที กลิ่นข้าวโพดฮอกไกโด”เปิดจิบสัมผัสความหอม อร่อย สดชื่น สุขภาพดีแบบน้ำตาล 0%

Scroll to Top