จากสถานการณ์โควิดที่แพร่ระบาดไปทั่วโลก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในวิถีชีวิตของผู้คน เศรษฐกิจและสังคม คนที่ปรับตัวเท่านั้นที่จะอยู่รอดได้ ขณะที่ความต้องการสินค้าและบริการมุ่งสู่ “ความต้องการแท้” ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานการแก้ปัญหาให้กับสังคมเป็นหลัก ตามแนวทาง SDGs ขององค์การสหประชาชาติ
ผศ.ดร.วีรณัฐ โรจนประภา วิศวกรออกแบบชีวิต ผู้ก่อตั้งมูลนิธิบ้านอารีย์ และสมาคมบ้านปันรัก ทั้งยังเป็นผู้ก่อตั้งมรณานุสติคาเฟ่ ที่นำงานวิจัยของคนไทยมาสร้างเป็นผลงานเชิงประจักษ์ ผ่านการนำเสนอความตายให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน บอกเล่าเรื่องราวผ่านคาเฟ่ ได้รับความสนใจจากสื่อทั่วโลก และเป็นหนึ่งใน 5 นักบริหารผู้สร้างสรรค์ ได้ให้แนวคิดในการออกแบบชีวิตของคนยุคต่อไป ซึ่งกำลังเป็น Mega Trend ของโลกในปัจจุบัน
“การแพร่ระบาดของโควิด 19 ที่เกิดขึ้น สร้างการเปลี่ยนแปลงในมนุษย์ทุกคน ในทุกวงการได้รับผลกระทบ เศรษฐกิจตกต่ำ ธุรกิจเสียหายอย่างประเมินค่ามิได้ แต่ในอีกด้านวิกฤตการณ์ในครั้งนี้ ได้ทำให้เห็นถึงภูมิต้านทานของสินค้าและบริการที่ออกมาตอบสนอง ‘ความต้องการแท้’ ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของการแก้ปัญหาให้กับสังคมเป็นหลัก โดยเฉพาะปัญหาระดับโลกที่เรียกว่า SDGs ที่สามารถเติบโตและอยู่รอดสวนกระแสวิกฤตดังกล่าวได้อย่างสวยงาม” ผศ.ดร.วีรณัฐกล่าว
แนวคิดเกี่ยวกับ “SDGs อาชีพแห่งอนาคต” ในขณะนี้ ถือเป็นโอกาสสำหรับคนที่กำลังมองหาช่องทาง โอกาสทองที่เกิดจากการแก้ปัญหา ปิดช่องว่างให้ผู้คนได้ก่อน มีโอกาสประสบความสำเร็จสูงมาก เพราะปัญหานี้เป็นที่มาของ “ความต้องการแท้” ที่ประเทศสมาชิกทั่วโลกประสบและต้องการแก้ไข รวมถึงต้องช่วยกันผลักดันให้แล้วเสร็จ ซึ่งหากมองในมุมของการทำธุรกิจ ใครที่สามารถนำงานของตนมาใช้ตอบโจทย์ปัญหาเหล่านี้ก็จะได้รับแรงสนับสนุนจากรัฐบาลภายในไปจนถึงนักลงทุนระดับโลก ซึ่งปัจจุบันมีการพิจารณาสนับสนุนองค์กรต่างๆ จากคะแนน SDGs score ด้วย
การพัฒนาคน (People) ให้ความสำคัญกับการขจัดปัญหาความยากจนและความหิวโหย และลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
สิ่งแวดล้อม (Planet) ให้ความสำคัญกับการปกป้อง ดูแล รักษาทรัพยากรธรรมชาติ ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
เศรษฐกิจและความมั่งคั่ง (Prosperity) ส่งเสริมให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี มีความสอดคล้องกับธรรมชาติ
สันติภาพและความยุติธรรม (Peace) สร้างสังคมการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ สงบสุข ไม่มีการแบ่งแยก
ความเป็นหุ้นส่วนการพัฒนา (Partnership) ความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อน
ยกตัวอย่าง SDGs ที่เราได้ยินอยู่บ่อยครั้ง เช่น การขจัดความยากจน ขจัดความหิวโหย ด้วยการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร และส่งเสริมโภชนาการที่เหมาะสม การสร้างหลักประกันด้านสุขภาวะ สุขภาวะที่ดี การสร้างหลักประกันในการจัดการน้ำ และสุขอนามัยสำหรับทุกคนอย่างเท่าเทียม การส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมและยั่งยืน การส่งเสริมนวัตกรรม การส่งเสริมรูปแบบการผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน เป็นต้น
ผศ.ดร.วีรณัฐ กล่าวว่า องค์การสหประชาชาติได้ทำการสำรวจและสรุปปัญหาระดับโลกออกมา ที่เรียกว่า SDGs หรือ Sustainable Development Goals มีทั้งสิ้น 17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ประกอบไปด้วย 169 เป้าหมายย่อย (SDGs Targets) ที่มีความเป็นสากล เชื่อมโยงและส่งเสริมซึ่งกันและกัน โดยสามารถจัดกลุ่ม SDGs ตามปัจจัยที่เชื่อมโยงกันใน 5 มิติ (5P) ได้แก่
ผศ.ดร.วีรณัฐ กล่าวว่า อยากแนะนำทุกคนที่กำลังแสวงหาแนวทางอยู่ได้ลองศึกษา SDGs อย่างละเอียด เพราะ SDGs เป็นโอกาสทองในการทำธุรกิจ และให้ช่องทางได้อย่างครบถ้วน ครอบคลุมแบบไม่ต้องลงทุนเสียเงินทำวิจัยด้วยตนเอง และหากเราสามารถใส่ความคิดสร้างสรรค์ ใส่นวัตกรรมลงไปในสินค้าและบริการควบคู่ลงไปด้วย ยิ่งทำให้ธุรกิจของเราแข็งแกร่ง ปราศจากคู่แข่ง สามารถเรียกได้อย่างเต็มปาก ธุรกิจของเราจะเติบโต อย่างมั่นคง และยั่งยืนไปพร้อมกัน
“โดยส่วนตัวที่ผมให้คำปรึกษากับบุคคลทั่วไปในการหาอาชีพจาก SDGs พบว่า คนจำนวนมากมักนึกไม่ถึงในประเด็นปัญหาที่อยู่ใน 17 ข้อนั้นว่าเป็นปัญหาระดับโลก ทำให้ละเลยโอกาสงานนี้ไป จนเมื่อได้ศึกษาโดยเฉพาะเจาะลงลึกในรายละเอียดย่อยของแต่ละเป้าประสงค์ใน 17 ข้อ ซึ่งมีแยกย่อยไปอีกมากก็จะยิ่งทำให้เจองานที่ตนอยากทำและถนัดได้ง่าย” ผศ.ดร.วีรณัฐระบุ
รวมทั้งจากผลการศึกษา พบว่า นักศึกษาในวันนี้จำนวน 100 คน จะมีถึง 65 คน ที่ในอนาคตจะต้องประกอบอาชีพที่ยังไม่เคยมีในวันนี้ เพื่อแก้ปัญหาที่ยังไม่ปรากฏหรือเป็นปัญหาใหม่ที่อาจยังไม่ได้รับการแก้ไข นั่นหมายถึงหากใครสามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้ ความสามารถ ทักษะของตนหรือขององค์กร ให้สามารถแก้ไขปัญหา SDGs ได้ก่อน เท่ากับกำลังทำอาชีพแห่งอนาคต ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน
“SDGs อาชีพแห่งอนาคต” คือ Mega Trend ที่จะเป็นโอกาสทองของคนที่มองเห็น แต่เป็นหายนะของคนที่มองข้าม” ใครที่คว้าโอกาสได้ย่อมประสบความสำเร็จ แต่ใครที่ละเลยย่อมถูกตัดโอกาสในการเติบโต ถูกตัดเงินสนับสนุนลงทุนจากภาครัฐและเอกชน และสุดท้ายจะล้มหายตายจากแวดวงธุรกิจในที่สุด SDGs ไม่ใช่เรื่องในระดับรัฐบาล แต่ SDGs เป็นปัญหาระดับโลก ที่เราทุกคนซึ่งเป็นพลเมืองโลกต้องร่วมมือกันทำจึงจะประสบความสำเร็จ และทุกคนสามารถเริ่มต้นได้จากตัวเราเอง ดร.วีรณัฐ กล่าวสรุป
#วิศวกรออกแบบชีวิต #SDGs